-
Bloggers’ Code of Conduct (2)
จรรยาบรรณสื่อใหม่ ที่ตอบโต้ได้ iTeau เปิดประด็นเอาไว้-นานแล้ว อันนี้คือสิ่งที่ Tim O’Reilly เสนอ ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับ “บล็อกเกอร์” เป็นหลัก ไม่ได้หมายถึง “ผู้สื่อข่าวพลเมือง” โดยตรง เอามาให้ดูเป็นไอเดีย ให้ต่อประเด็นได้ (ผมไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด และเห็นด้วยกับ Cory Doctorow พูดไว้ว่า จรรยาบรรณชุดนี้ “แลกเสรีภาพกับความสุภาพ”) รับผิดชอบ ไม่เพียงแค่สิ่งที่คุณพูด แต่รวมถึงความเห็นที่คุณอนุญาตให้แสดงบนบล็อกของคุณ บอกระดับความอดกลั้นของคุณต่อความเห็นหยาบคาย พิจารณานำความเห็นนิรนาม*ออกไป (* นิรนามในที่นี้ หมายถึงตามไม่ได้ว่าเป็นใคร – แต่ยังสามารถปกปิดตัวตนได้ – เช่นให้อีเมลจริงกับเจ้าของบล็อก แต่ไม่แสดงชื่อ/อีเมลแก่คนอ่านคนอื่น) เพิกเฉยต่อความเห็นที่จงใจก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง คุยกันออฟไลน์ คุยกันโดยตรง หรือหาคนกลางที่จะทำอย่างนั้นได้ ถ้าคุณรู้จักใครที่ทำตัวไม่ดี บอกเขา ถ้าคุณไม่พูดสิ่งไหนต่อหน้าคนอื่น อย่าพูดสิ่งนั้นออนไลน์ อ่านดูแล้ว ก็จะพบว่าเกือบทั้งหมด จะเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่นำเสนอออนไลน์ (ถ้าพูดถึงกรณีข่าว ก็จะไม่ได้เกี่ยวกับ “ตัวข่าว” โดยตรง แต่เกี่ยวกับ “ความเห็นท้ายข่าว”) ตรงนี้ดู ๆ…
-
Bloggers’ Code of Conduct
ในอีเมลกลุ่มพลวัต กำลังถกกันเรื่อง “สื่อพลเมือง” และคิด ๆ กันว่า น่าจะมีเรื่องจรรยาบรรณสื่อพลเมืองด้วย ตอนนี้ก็ดู จรรยาบรรณบล็อกเกอร์ เทียบเคียงไปก่อน จดกันลืม (แต่เดี๋ยวก็จะลืมว่าเคยจดอยู่ดี) คนชายขอบ, จรรยาบรรณของสื่อพลเมือง (vdo) iTeau, จรรยาบรรณและมารยาทของการเขียนบล๊อก CyberJournalist.net, A Bloggers’ Code of Ethics (บนพื้นฐานจาก Society of Professional Journalists Code of Ethics) Blogger’s Code of Conduct (เสนอโดย Tim O’Reilly) — Cory Doctorow โต้ไว้ว่า จรรยาบรรณชุดนี้ “แลกเสรีภาพกับความสุภาพ” Blogging Wikia, Blogger’s Code of Conduct (มีเสนอ ‘โมดูล’) หลายอันให้เลือกประกอบใช้) คิดว่าเรื่องไหนสำคัญบ้าง ที่จะทำให้สิ่งที่เขียนบนบล็อก…
-
“We Media” สื่อเรา เราสื่อเองได้
ถ้าคุณไม่ชอบข่าวพวกนั้น … ออกไปข้างนอกและเขียนมันขึ้นเองสิ เราได้ยินคำว่า ผู้สื่อข่าวพลเมือง มากขึ้นทุกวัน (ตัวอย่างในเมืองไทย ก็เห็นจะเป็น “นักข่าวพเนจร” ในนสพ.ออนไลน์ประชาไท) ปรากฎการณ์นี้สำคัญอย่างไร มีพลังจะทำให้เกิดอะไรขึ้นได้บ้าง ? บางส่วนจากบทนำของหนังสือ We the Media : Grassroots Journalism by the People, for the People (โดย Dan Gillmor อดีตนักข่าวนสพ., บล็อกเกอร์, และผู้ก่อตั้ง Center for Citizen Media) นี้ น่าจะช่วยให้เราพอเห็นภาพ และจินตนาการถึง โลกที่ผู้สื่อข่าวกับพลเมืองกลายมาเป็นคน ๆ เดียวกัน ได้ง่ายขึ้น ทิศทาง แนวโน้ม กระแสของ We Media (สื่อเรา) วันที่ 28 ก.ย. 2547 Doc Searls…
-
Don’t put all your eggs in the Internet
อย่าแม้แต่จะคิดพึ่งพิงช่องทางใดช่องทางหนึ่งเป็นหลัก เตรียมหาทางเลือก ทางสำรองเอาไว้ตลอดเวลา เมื่อวานและวันนี้ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยยังอยู่ในสภาพพิการ เข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง และช้าอืด พื้นที่สาธารณะ สื่อพลเมือง เวทีประชาธิปไตย ฯลฯ อะไรก็ตาม อินเทอร์เน็ตคือโอกาส แต่ไม่ใช่คำตอบเบ็ดเสร็จที่จะโถมตัวเข้ามาหมด วิทยุชุมชน ทีวีชุมชน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ศาลาประชาคม วัด โรงเรียน เหล่านี้ยังมีความสำคัญเสมอ นอกจากจะมองมันเป็น “ทางสำรอง” สำหรับคนเมืองผู้มีอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แล้ว มันยังเป็น “ทางหลัก” ในอีกหลายพื้นที่ ที่แม้แต่คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่มีด้วย (เลิกหวังกับ แลปทอปร้อยเหรียญ ได้แล้ว — รัฐบาลกลัวอะไร?) ส่วนตัวการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของไทยเอง ก็ควรจะทบทวนด้วยไหม ว่าได้เทน้ำหนักการเชื่อมต่อออกต่างประเทศไปกับประเทศใดประเทศหนึ่ง เส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง มากเกินไปไหม มีเส้นทางสำรอง เส้นทางทางเลือก ที่พอเพียงหรือไม่ ? หากเกิดภัยธรรมชาติสร้างความเสียหายให้กับเส้นทางบางเส้นทาง เส้นทางที่เหลือจะยังรองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้นคับคั่งขึ้นได้หรือไม่ ? ทั้งที่เพิ่มขึ้นโดยธรรมชาติ จากการที่ต้องแบกรับการจราจรจากเส้นทางอื่นที่เสียไป และที่เพิ่มขึ้นจากความตื่นตระหนกของผู้คน เช่น ตอนที่เกิดสึนามิเมื่อสองปีก่อน การจราจรบนอินเทอร์เน็ตก็พุ่งขึ้นสูงทันที ทุกคนอยากรู้ข่าว แน่นอนว่า เส้นทางสำรอง เส้นทางทางเลือก…
-
YouFest – YouMedia
หลังจากพร่ำเพ้อเกี่ยวกับสื่อนฤมิต และสื่อพลเมือง มาได้พักใหญ่ ก็ได้โอกาสทำอะไรซักที งาน YouFest ตอน YouMedia จะเป็นการพบปะพูดคุยของผู้สนใจเรื่อง สื่อนฤมิต สื่อทางเลือก สื่อพลเมือง วารสารศาสตร์รากหญ้า พื้นที่สาธารณะของประชาชน ใครอยากคุยอะไร คุยเลย เต็มที่ ใครปิ๊งใคร จะไปทำอะไรกันต่อ เอาเลย (พูดหยั่งกะงานดูตัว … แต่มันก็ ใช่นะ) คนสนใจด้านนี้ในเมืองไทย (และคนไทยเมืองนอก) มีไม่น้อย เพียงแต่อาจจะไม่ได้รู้จักกันมากเท่าไหร่ วงพูดคุยนี้น่าจะเป็นโอกาสอันนี้ งานจัด เสาร์ 20 มกราคม 2550 บ่ายโมงไปจนกว่าจะเหนื่อย ที่ อินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ ตึกไทยซัมมิท รถใต้ดิน เพชรบุรี ดูแผนงานคร่าว ๆ และข้อมูลการเดินทางที่ วิกิ ใครมีไอเดียอะไร เสนอได้เลยนะครับ ทุกอย่างปรับแก้เพิ่มลดได้หมด เปิด อิสระ เสรี งานนี้เป็นของ “คุณ” (นั่นหมายถึง “เรา”) ข้อมูลงาน…
-
Democracy Player
“ทีวีคือสื่อกระแสหลักที่นิยามยุคสมัยของเรา และเวลานี้ก็เป็นโอกาสที่คุณจะสร้างวัฒนธรรมทีวีที่ลื่นไหล หลากหลาย น่าตื่นเต้น และสวยงาม” Democracy Player (หรือรู้จักกันในชื่อ Democracy และ DTV) เป็นแอพพลิเคชั่นโทรทัศน์อินเทอร์เน็ต พัฒนาโดยมูลนิธิวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม (Participatory Culture Foundation – PCF) มันสามารถดาวน์โหลดวีดิทัศน์โดยอัตโนมัติจาก “ช่อง” ที่ใช้เทคโนโลยี RSS พร้อมทั้งจัดการและเล่นวีดิทัศน์เหล่านั้น ตัวโปรแกรมพัฒนาขึ้นบน XULRunner และเป็นซอฟต์แวร์เสรี Democracy Player ทำงานได้บน Windows, OS X, และ GNU/Linux โดยตัวมันได้รวมเอาความสามารถของ RSS aggregator, BitTorrent client และโปรแกรมเล่นสื่อ VLC (หรือ Xine สำหรับ GNU/Linux). Democracy Player เป็นส่วนหนึ่งของ Democracy TV Platform ซึ่งรวม Broadcast Machine (โปรแกรมเอาไว้แพร่ภาพ)…
-
Your Guide to Citizen Media
อย่าหวังพึ่งใครมาก พึ่งตัวเองบ้าง สื่อพลเมือง วารสารศาสตร์รากหญ้า วารสารศาสตร์พลเมือง … (แปลมั่ว) Your Guide to Citizen Journalism — a quick overview of the field, learn the jargon เริ่มที่นี่ ถ้าคุณยังใหม่อยู่ We the Media (book) — Grassroots Journalism by the People, for the People หนังสือที่พูดถึง “วารสารศาสตร์รากหญ้า” The Citizen’s Handbook — A Guide to Building Community คู่มือสร้างชุมชนพลเมืองออนไลน์ Citizens and Media (e-book/French) — Practical…
-
Asia247
Asia247 about Asia. 24 hrs a day. 7 days a week. Citizen journalism, podcasts about Asia, aggregated. tags: Asia, SE Asia, citizen journalist, podcast
-
"We the Media" book, free download
We the Media : Grassroots Journalism by the People, for the People by Dan Gillmor Free PDFs download (Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 2.0 License)
-
story of, by, and for citizen
เลิกอ่านอย่างเดียว ! Citizen journalism ประชาชนเป็นคนหาข่าว ทำข่าว รายงานข่าวเอง Civic Journalism ประชาชน/ผู้รายงานข่าว เป็นส่วนหนึ่งในข่าว (ความเคลื่อนไหวในสังคม) คือไม่ใช่แค่ผู้รับสาร/ส่งสาร แต่เป็นส่วนหนึ่งของสารนั้นด้วย (แต่อาจไม่เหมือนกับ citizen journalism ตรงที่ว่า ประชาชนอาจจะยังไม่ได้เป็นผู้รายงานข่าวเสียเอง) (ขอคำแปลภาษาไทยสวย ๆ สื่อ ๆ หน่อย ทั้งสองคำ) We the Media หนังสือเกี่ยวกับ “สื่อรากหญ้า” (glassroot media) ศูนย์ศึกษา/วิจัย/สนับสนุน, “think tanks”, บล็อก Center for Citizen Media ศูนย์ศึกษาร่วมของคณะวารสาร เบิร์กลีย์ กับคณะนิติ ฮาร์วาร์ด (Berkman Center for Internet & Society) ผู้อำนวยการคือ Dan Gillmor คนเดียวกับที่เขียนหนังสือเล่มข้างบน Center…