-
Sawasdee!
ทักทายอีกผู้ดูแลระบบของวิกิพีเดียไทย MNOP: ทิศทางวิกิพีเดีย แนวคิดคนเขียน คนอ่าน และคนไม่เขียนไม่อ่าน MNOP: นักวิชากาน ใน วิกิพีเดียไทย (ยุคแรก) technorati tags: Thai Wikipedia
-
Thai Wikipedia content policies
(ต่อเนื่องจาก วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว (?)) ไปช่วยกันดู สามนโยบายหลัก ด้านเนื้อหา ของวิกิพีเดียไทย กันหน่อย 🙂 วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง (WP:NPOV) en: Wikipedia:Neutral point of view วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ (WP:NOR) en: Wikipedia:No original research วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้ (WP:V) en: Wikipedia:Verifiability ลบเพิ่มแก้ไข ได้ตามสบาย วิพากษ์วิจารณ์ ให้เหตุผล ตั้งคำถาม อภิปราย ได้ที่หน้า “อภิปราย” ของแต่ละบทความ เกี่ยวข้อง: วิกิพีเดีย:นโยบายและแนวปฏิบัติ (WP:RULES) technorati tags: Thai Wikipedia, Wikipedia, style guide
-
Does Wikipedia a real peer-to-peer production ?
ต่อเนื่องจาก วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว – มีข้อสังเกตน่าสนใจจาก เชิงอรรถ ของ มหาวิหารกับตลาดสด (The Cathedral and the Bazaar) น่าสังเกตพอๆ กัน ว่าในชุมชนโอเพนซอร์สนั้น รูปแบบโครงสร้างชุมชนก็ตรงกับหน้าที่ที่ทำในหลายระดับ เครือข่ายนี้ครอบคลุมทุกอย่างและทุกที่ ไม่ใช่แค่อินเทอร์เน็ต แต่ผู้คนที่ทำงานยังได้สร้างเครือข่ายแบบกระจาย ขึ้นต่อกันอย่างหลวมๆ ในระดับเดียวกัน ที่มีส่วนที่ทดแทนกันได้เกิดขึ้นกลายส่วน และไม่ล้มครืนลงแบบทันทีทันใด ในเครือข่ายทั้งสอง แต่ละกลุ่มจะมีความสำคัญแค่ในระดับที่กลุ่มอื่นต้องการจะร่วมมือด้วยเท่านั้น ตรงส่วน “ในระดับเดียวกัน” นี้ สำคัญมากสำหรับผลิตภาพอันน่าทึ่งของชุมชน ประเด็นที่โครพอตกินพยายามจะชี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ได้ถูกพัฒนาต่อไปโดย ‘หลัก SNAFU’ ที่ว่า “การสื่อสารที่แท้จริง จะเกิดได้ระหว่างคนที่เท่าเทียมกันเท่านั้น เพราะผู้ที่ด้อยกว่าจะได้รับการตอบแทนอย่างสม่ำเสมอกว่า ถ้าพูดโกหกให้ผู้ที่เหนือกว่าพอใจ เทียบกับการพูดความจริง” ทีมงานที่สร้างสรรค์จะขึ้นอยู่กับการสื่อสารอย่างแท้จริง และจะถูกขัดขวางอย่างมากจากการมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ชุมชนโอเพนซอร์ส ซึ่งปราศจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าว จึงได้สอนเราในทางตรงกันข้าม ให้รู้ถึงข้อเสียของความสัมพันธ์ดังกล่าวในรูปของบั๊ก ผลิตภาพที่ถดถอย และโอกาสที่สูญเสียไป ข้อสังเกตนี้ ชี้ว่า ในการผลิตแบบเท่าเทียม (peer production) ชุมชนที่จะมีประสิทธิภาพควรจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในชุมชนแบบเท่าเทียม/ในระดับเดียวกัน … แล้วความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในวิกิืพีเดีย(ไทย)เป็นแบบไหน…
-
Thai Wikipedia is Failing
คุณ Patiwat จุดประเด็นเอาไว้ (ผมขออนุญาตแปลไว้ตรงนี้): บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ที่ชื่อ “Wikipedia is Failing” [วิกิพีเดียกำลังล้มเหลว] ทำให้ผมต้องพิจารณาอย่างหนักว่า วิกิพีเดียไทยนั้นเป็นอย่างไรบ้าง. ผลลัพธ์นั้นชวนหดหู่. โปรดสังเกตว่าบทความดังกล่าวนั้น ไม่ได้ ชื่อว่า “Wikipedia Can Improve” [วิกิพีเดียยังพัฒนาได้]. ผู้เขียนได้บอกเป็นนัยว่าปัญหาเชิงระบบและปัญหามูลฐานนั้นคือต้นเหตุแห่งความล้มเหลว. นี่คือการพิจารณาชั้นต้นในตัวชี้วัดที่พอเทียบเคียงได้ในวิกิพีเดียไทย. ไปอ่านข้อเขียนนี้+ความเห็นจากชาววิกิพีเดียอื่น ๆ ได้ที่ “วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว” สำหรับผมแล้ว ปัญหา “สองมาตรฐาน” (double standard) คือปัญหาใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของวิกิพีเดียไทย สองมาตรฐาน เช่น บางครั้งก็เข้มงวดกับกฎเกณฑ์ บางครั้งก็ผ่อนปรน โดยที่ไม่แน่ชัดว่า อะไรคือหลักในการพิจารณาว่าเมื่อไรถึงจะเข้มหรือจะผ่อน หรือเนื้อหาลักษณะเดียวกัน แต่เขียนโดยคนละคน กลับได้รับการเพ่งเล็งปฏิบัติแตกต่างกัน ฯลฯ ความอัปลักษณ์ทั้งหลายที่มีอยู่ในวิกิพีเดียไทยตอนนี้ ผมเห็นว่ามีรากฐานมาจากปัญหา (ทัศนคติ?) ดังกล่าวทั้งสิ้น และปัญหานี้เองที่จะทำให้วิกิพีเดียค่อย ๆ เสื่อมลงได้อย่างเป็นระบบ ทำไมผมจึงเห็นว่า มันเป็นกระบวนการเสื่อมลงอย่างเป็นระบบ ?…
-
The Untouchable Thammasat
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดัดจริตอีกแล้วครับท่าน ผมอยากรู้นัก ว่าทางมหาลัย เขามีสิทธิอะไรที่จะไปตักเตือนคุณเอมี่ กรณีแต่งตัว “ไม่เหมาะสม” จะบอกว่า “ขัดกับวัฒนธรรม” … ก็แล้วทำไมไม่ปล่อยให้ สังคม ซึ่งเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมเป็นผู้จัดการไปเสีย ชาวบ้านร้านตลาด เขาจะด่าทอ จะชื่นชม จะซุบซิบนินทา ฯลฯ ก็เป็นสิทธิของเขาที่จะทำกัน การโต้ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเหล่านี้ การแสดงความชอบใจไม่ชอบใจ อย่างเสรี เหล่านี้ไม่ใช่หรือ ที่ทำให้วัฒนธรรมมันพัฒนาไปตามกาล ผมไม่มีปัญหาอะไรเลย กับการแสดงความคิดเห็นเหล่านี้ ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติซะ ที่มีปัญหาก็คือ ถ้ามีใครซักคนซักกลุ่ม ไม่ว่าคุณคนนั้นเขาจะเป็นใคร จะกระทรวงวัฒนธรรม คณะรัฐประหาร คณะกรรมการวันเด็ก อธิการบดี ฯลฯ ออกมาฟันธงชี้ขาด บอกว่าอย่างนี้ดี อย่างนี้ไม่ได้ … แบบนี้มันเป็นการพัฒนาของวัฒนธรรมแบบไหนกัน ? ผมมองไม่เห็น หรือจะเป็น “วัฒนธรรมเผด็จการ-อำนาจนิยม-ดัดจริต” ? ถ้าคุณสุรพล จะโทรไปหาหรือแวะไปหาคุณเอมี่ แล้วตักเตือนกันในฐานะผู้ใหญ่เตือนเด็ก เออ มันไม่เหมาะนะ ระวังตัวหน่อย … ไม่มีปัญหา น่ารักดีด้วย เป็นห่วงเป็นใยกัน…
-
YouSex
(พักนี้มีแต่วีดิโอ 😛 ไม่ค่อยได้เขียนเลย) ซื้อถุงยาง จะอายทำไม, แคมเปญจาก ยูเซ็กส์ technorati tags: YouSex, safe sex
-
Holy S*%T Award
จากโพสต์ก่อนหน้านี้ เรื่องการประกวดแดนซ์ ๆ ของ OK Go กดไล่ ๆ ดู เจอคลิปนี้เข้าไป อึ้งเลย — สุดยอด! (ควรดูต้นฉบับก่อนมาดูอันนี้) รู้แล้ว ว่าทำไมถึงได้รางวัล “Holy S*%T Award” ! technorati tags: OK Go
-
Spinto Band – Oh Mandy
ส่วนอันนี้ แฮ็ค FH Potsdam แนะนำมา วง Spinto Band เพลง Oh Mandy technorati tags: Spinto Band, mv
-
OK! Go! Dance!
พี จิกกะบาล แนะนำมา, เราก็จัดไป: เอ็มวีเพลง “Here It Goes Again” ของวง OK Go, เจ๋งดี เป็นเล่นไป เห็นขำ ๆ แบบนี้ ได้รางวัลแกรมมี่นะครับ (Grammy Awards นะ ไม่ใช่อากู๋อวอร์ดส) สาขา “Best Short Form Music Video (2007)” ต้นทุนเอ็มวีนี้ ไม่ถึง 5,000 เหรียญสหรัฐ ทางวงมีจัดประกวดด้วย ให้แฟน ๆ ที่เอ็มวี แดนซ์ ๆ ฉบับของตัวเองออกมา แล้วเอามาโชว์ ของใครเจ๋งแบบไหนยังไง เอารางวัลไปเลย โดยใช้ชื่อการประกวดว่า “OK Go Dances with You(Tube) Contest” ขำเหมือนกัน ตัวอย่างจากทางบ้าน เพลง “A Million…
-
Electoral System Design / IDEA
เป็นครั้ง แรกทีเดียวที่นักเลือกตั้งประเมินว่า นโยบายและชื่อชั้นของพรรครวมทั้งคนหรือบุคลากรหรือผู้นำของพรรค เป็นตัวชี้วัดความนิยม นั่นหมายความว่า นักเลือกตั้งเหล่านี้ไม่เชื่อมั่นในเงินของตัวเองว่าจะซื้อคะแนนได้อีกต่อ ไปแล้ว นี่คือดอกผลของการออกแบบระบบการเลือกตั้ง เพียงช่วง 5 ปี กับการเลือกตั้งเพียงสองครั้งเท่านั้น การซื้อเสียงกำลังจะหมดความหมายไปจากสังคมไทย … การยกเลิกระบบปาร์ตี้ลิสต์ไป แล้วกลับไปย้อนยุค รังแต่จะเพิ่มวิกฤติและแรงกดดันให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (ในแบบไม่ยอมปรับตัว) เสียเปล่าๆ ลืมคุณทักษิณ ชินวัตรไปบ้างไม่ได้หรือครับ อย่าให้เขามาหลอกหลอนและกำหนดชะตาชีวิตที่เหลือของคนไทยที่ต้องถูกบังคับ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่เลย พฤติกรรมของคุณทักษิณที่ผ่านมาเป็นข้อยกเว้น เพราะให้ทุกอย่างเหมือนเดิม ใช้รัฐธรรมนูญ 2540 มี การเลือกตั้ง มีคุณทักษิณเป็นนายกฯ อีกครั้ง สังคมการเมืองไทยก็ไม่เหมือนเดิมแบบที่คุณทักษิณจะมาเผด็จอำนาจได้อีกแล้ว นั่นก็เพราะระบบตรวจสอบทำงานแล้ว และนั่นคือหัวใจ เราต้องเพิ่มระบบตรวจสอบให้เข้มแข็งขึ้น ติดอาวุธให้กับกลไกตรวจสอบ เพิ่มอำนาจประชาชน ประชาชนฟ้องคดีทุจริตได้ เข้าชื่อถอดถอนได้ง่ายขึ้น ทำสื่อให้เป็นอิสระและฉลาด กระจายอำนาจออกไป แต่อย่าลดทอนความเข้มแข็งของรัฐบาล เพราะการลดทอนความเข้มแข็งของรัฐบาล ประชาชนจะเสียประโยชน์ที่นโยบายที่พรรคการเมืองหาเสียงไว้ก็ทำไม่ได้ ต้องกลับไปวัดค่า ส.ส. ด้วยการขายเสียงเหมือนเดิม ขณะที่ประโยชน์ของการลดทอนความเข้มแข็งของรัฐบาลจะไปอยู่ที่ข้าราชการและอำมาตย์ทั้งหลายที่ร่วมกันทำรัฐประหาร ที่สำคัญที่สุดคือศักดิ์ศรีของชาติและประชาชน ในฐานะที่ชาติและประชาชนเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 แต่หลงลืมทุกอย่าง หลงลืมบทเรียน ประวัติศาสตร์ และย้อนกลับไปรอยเดิม…