-
Bloggers’ Code of Conduct (2)
จรรยาบรรณสื่อใหม่ ที่ตอบโต้ได้ iTeau เปิดประด็นเอาไว้-นานแล้ว อันนี้คือสิ่งที่ Tim O’Reilly เสนอ ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับ “บล็อกเกอร์” เป็นหลัก ไม่ได้หมายถึง “ผู้สื่อข่าวพลเมือง” โดยตรง เอามาให้ดูเป็นไอเดีย ให้ต่อประเด็นได้ (ผมไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด และเห็นด้วยกับ Cory Doctorow พูดไว้ว่า จรรยาบรรณชุดนี้ “แลกเสรีภาพกับความสุภาพ”) รับผิดชอบ ไม่เพียงแค่สิ่งที่คุณพูด แต่รวมถึงความเห็นที่คุณอนุญาตให้แสดงบนบล็อกของคุณ บอกระดับความอดกลั้นของคุณต่อความเห็นหยาบคาย พิจารณานำความเห็นนิรนาม*ออกไป (* นิรนามในที่นี้ หมายถึงตามไม่ได้ว่าเป็นใคร – แต่ยังสามารถปกปิดตัวตนได้ – เช่นให้อีเมลจริงกับเจ้าของบล็อก แต่ไม่แสดงชื่อ/อีเมลแก่คนอ่านคนอื่น) เพิกเฉยต่อความเห็นที่จงใจก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง คุยกันออฟไลน์ คุยกันโดยตรง หรือหาคนกลางที่จะทำอย่างนั้นได้ ถ้าคุณรู้จักใครที่ทำตัวไม่ดี บอกเขา ถ้าคุณไม่พูดสิ่งไหนต่อหน้าคนอื่น อย่าพูดสิ่งนั้นออนไลน์ อ่านดูแล้ว ก็จะพบว่าเกือบทั้งหมด จะเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่นำเสนอออนไลน์ (ถ้าพูดถึงกรณีข่าว ก็จะไม่ได้เกี่ยวกับ “ตัวข่าว” โดยตรง แต่เกี่ยวกับ “ความเห็นท้ายข่าว”) ตรงนี้ดู ๆ…
-
Bloggers’ Code of Conduct
ในอีเมลกลุ่มพลวัต กำลังถกกันเรื่อง “สื่อพลเมือง” และคิด ๆ กันว่า น่าจะมีเรื่องจรรยาบรรณสื่อพลเมืองด้วย ตอนนี้ก็ดู จรรยาบรรณบล็อกเกอร์ เทียบเคียงไปก่อน จดกันลืม (แต่เดี๋ยวก็จะลืมว่าเคยจดอยู่ดี) คนชายขอบ, จรรยาบรรณของสื่อพลเมือง (vdo) iTeau, จรรยาบรรณและมารยาทของการเขียนบล๊อก CyberJournalist.net, A Bloggers’ Code of Ethics (บนพื้นฐานจาก Society of Professional Journalists Code of Ethics) Blogger’s Code of Conduct (เสนอโดย Tim O’Reilly) — Cory Doctorow โต้ไว้ว่า จรรยาบรรณชุดนี้ “แลกเสรีภาพกับความสุภาพ” Blogging Wikia, Blogger’s Code of Conduct (มีเสนอ ‘โมดูล’) หลายอันให้เลือกประกอบใช้) คิดว่าเรื่องไหนสำคัญบ้าง ที่จะทำให้สิ่งที่เขียนบนบล็อก…
-
Abracadacaba
อยากลองลง Abraca (XMMS2 client) แต่ build ไม่ผ่าน มันอยากได้ GTK+ 2.8.0 เรามี 2.11.6 🙁 แก้ไงก็ไม่รู้ด้วย ใช้ระบบ build แปลก ๆ ชื่อ “waf” (เป็น Python หมดเลย อ่านง่าย แต่ไม่เข้าใจ :P) ใน Banshee ถึงแม้เวลานำเพลงเข้าไลบรารีมันจะตั้งชื่อโฟลเดอร์ให้ตามชื่อศิลปินและอัลบั้ม แต่พอเปลี่ยนชื่อทีหลัง มันไม่ยอมเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์+ย้ายให้เรา (iTunes ทำให้) การเรียงโฟลเดอร์ดี ๆ จะอำนวยความสะดวกแก่คนอื่นที่จะมาดูดเพลงจากเครื่องเรา! 😛 technorati tags: Linux, music player
-
Freedom to Watch, the Right to Make
คือจริง ๆ เค้าควรจะบอกมาเลยนะ ว่าประเทศนี้มันไม่ใช่ประชาธิปไตย แล้วมันจะง่ายขึ้น ประเทศนี้เป็นเผด็จการ คือมึงบอกกูมาเลยดีกว่า แล้วกูจะได้ใช้ชีวิต ไปกับพวกมึงได้ — เป็นเอก รัตนเรือง (ผู้กำกับภาพยนตร์) วิดีโอรณรงค์เครือข่ายเพื่อเสรีภาพภาพยนตร์ไทย Free Thai Cinema Movement (ได้ดูครั้งแรกในงาน Thai Short Film and Video Festival ที่แกรนด์อีจีวี สยามดิสคัฟเวอรี งานมีถึง 26 นี้ — โปรแกรมวันศุกร์ 19:00 น่าดูมาก ๆ เป็นหนังสั้นต้านรัฐประหาร 😛 หลายเรื่อง) ด้านล่างนี้ จดมาจากวิดีโอ ใครพูดอันไหน ลองดู (ผมรู้จักไม่กี่คน :P) มาใหม่ 2007.08.27: ความเห็นของ สุนิตย์, mk, girl friday, และคนอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ พ.ร.บ.ชุดนี้ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์…
-
Vote for the Better, Vote ‘NO’
ขออนุญาตคัดทั้งหมด มาจากประชาไท เลือกในสิ่งที่ดีกว่า คือ ‘ไม่’ 19 สิงหาคม เป็นวันที่จะกำหนดอนาคตของเรา ผมไม่แน่ใจว่า สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรจากการยกร่างรัฐธรรมนูญและการรณรงค์ประชามติที่ผ่านมา หากไม่หลอกตัวเองมากเกินไป และซื่อตรงต่อตนเอง ไม่มากก็น้อยคงต้องยอมรับว่าการประชามติที่ผ่านมานั้นเป็นไปอย่างไม่ตรงไปตรงมา ไม่เคารพคนที่เห็นต่าง และไม่เป็นธรรมต่อการแข่งขัน หลายกรณียังเข้าข่ายฉ้อฉล การเดินไปคูหาประชามติแล้วผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ยังเท่ากับทำให้มาตรฐานการประชามติอย่างที่เป็นอยู่ได้รับการยอมรับ และจะเป็นมาตรฐานแบบไทยๆ สำหรับใช้ในครั้งต่อไป ทั้งๆ ที่ไม่มีใครในโลกเรียกการกระทำเช่นนี้ว่าประชามติได้ การไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการร่าง การเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนจำนวนมากและส่วนใหญ่ ซึ่งยืนยันจากโพลล์หลายสำนัก พึงต้องด้วยรู้ว่า การทำประชามติคือการใช้สิทธิใช้เสียงของประชาชนทุกคนอย่างเจ้าของประเทศโดยทางตรง ซึ่งกำลังเป็นวิธีที่นานาอารยประเทศนิยมใช้มากขึ้นๆ การทำให้การประชามตินี้เกิดเป็นมาตรฐานอันตราย จะทำให้การเมืองไทยเสียนิสัยและมักง่าย ซึ่งที่ผ่านมาก็มากพออยู่แล้ว กล่าวอีกอย่างก็คือ การให้ร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่านด้วยประชามติครั้งนี้ จึงไม่เพียงแต่เท่ากับศูนย์แต่ยังทำให้สังคมไทยติดลบ ในทางกลับกัน สังคมการเมืองไทยจะได้อะไรอีกมากหากประชามติครั้งนี้มีผลในทางไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 2550 หนึ่งคือ เท่ากับการปฏิเสธกระบวนการร่างที่ไม่เห็นหัวประชาชน สองคือปฏิเสธที่มาของการร่าง ซึ่งจะทำให้การรัฐประหารซึ่งส่งผลเสียต่อสังคม การเมือง เศรษฐกิจ มหาศาลทำได้ยากมากขึ้น หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นอีกเลยและพาการเมืองไทยก้าวสู่การเมืองแบบเป็นเหตุเป็นผล หรือมีโอกาสหลุดออกจากวงจรอำนาจนิยมมากขึ้น และสาม เราจะนำความสมานฉันท์กลับมาสู่สังคมไทยอย่างแท้จริงได้ เมื่อกระบวนการต่อจากนั้นเดินไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับประชาชนที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งเรื่องที่มาของผู้ร่าง กระบวนการ และเนื้อหา และวันนั้นเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะดีกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 และร่าง…
-
FIFA Fair Play Award
ฟุตบอลบ้านเรา ไม่เหมาะกับกฎฟีฟ่า ? technorati tags: football, politics, Thailand
-
Pre-Referendum Reads
Be an informed citizen, read this before referendum vote. เอกสารน่าอ่านก่อนลงประชามติ รวมรวมโดย คนชายขอบ ทุกอันมีเป็น PDF พิมพ์ไปอ่านบนรถไฟฟ้า ส่งต่อให้เพื่อน ๆ ญาติ ๆ อ่านได้ พร้อมลิงก์ไปยัง ร่างรธน. 2550 ฉบับเต็ม เพื่อประกอบการตัดสินใจ รายชื่อบทความ: ชำแหละร่างรัฐธรรมนูญ 2550 – ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ นับถอยหลัง “รับ-ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ การเมืองไทยจะไปทางไหน? – นิตยสารสารคดี ทำไมต้องโหวตล้มร่างรัฐธรรมนูญ? (พร้อมแผนภูมิ) – wevoteno.net ชำแหละระบบบัญชีรายชื่อในร่าง รธน. 2550: gerrymandering แบบไทยๆ? – ม้านอก และ เด็กนอกกรอบ บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับลงประชามติ –…
-
aesthetic of gravity
สุนทรียศาสตร์ของแรงโน้มถ่วง เรียบเรียงจาก Pierre von Meiss (2000), The Aesthetic of Gravity, Architectural Research Quarterly; Volume 4 /NO.3, London: Cambridge Press โดย post-metropolis — บล็อกนักเรียนไทย การผังเมือง คาสเซิล เยอรมนี [ ผ่าน romance was not built in one day ] technorati tags: aesthetic, gravity, urban planning
-
PrachataiNoi Classroom
ประชาไทน้อย ชวนฟังบรรยาย อนาคตการเมืองไทยหลังประชามติ เชิญชวนนักเรียนข้างถนน ผู้รักการศึกษาตลอดชีวิต และสื่อมวลชน ร่วมฟังบรรยาย ห้องเรียนประชาไทน้อย วิชาสัมมนาการเมืองไทย (สมท101) ปีการศึกษา 2550 ตอน: อนาคตการเมืองไทยหลังประชามติ พุธที่ 15 สิงหาคม 2550 เวลา 13:00-16:00 น. ห้อง 206.2 อาคาร 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ร่วมบรรยาย… คำพร ธุระเจน (นศ. นิติ มธ., ประธานวิชาการ มธ., แฟนพันธุ์แท้ 2004 เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.) ตฤน ไอยะรา (นศ. เศรษฐ มธ.) ชาติชาย แสงสุข (นายกองค์การบริหารนศ. มรภ.นครสวรรค์, สมาชิกสภาร่างรธน.) ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ (นศ. รัฐศาสตร์ จุฬา, แฟนพันธุ์แท้…
-
robber’s contract
มีโจรมาปล้นบ้านคุณน่ะครับ (คุณโทรไปเรียกเขามาเองแหละ) ปล้นเสร็จ คุณก็เอาดอกไม้ไปให้โจร จับมือจับไม้ ถ่ายรูป แล้วโจรก็ร่างสัญญา ยื่นให้คุณ ในนั้นเขียนว่า “เกี่ยวก้อยกันนะ นี่ไม่ใช่การปล้นอ่ะ ช่วยเซ็นยินยอมด้วย” …จะเซ็นดีมั๊ยเนี่ย ? technorati tags: amnesty, constitution, coup