-
Google เปิดเผยข้อมูลการเซ็นเซอร์ละเอียดขึ้น
กูเกิลเปิดให้ใช้บริการ “รายงานความโปร่งใส” (Transparency Report) มาตั้งแต่ปีที่แล้ว และเมื่อวาน (27 มิ.ย. 2554) ก็ได้ประกาศปรับปรุงหน้าตาใหม่ พร้อมกับข้อมูลที่ละเอียดขึ้น Transparency Report ดังกล่าวประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ 1) การจราจร (Traffic) และ 2) คำร้องจากรัฐบาล (Government Requests) โดย Traffic จะแสดงปริมาณการจราจรที่เข้ามายังบริการต่าง ๆ ของกูเกิล ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเมื่อดูในภาพรวมแล้ว จะทำให้เห็นได้ว่า เกิดเหตุผิดปกติอะไรกับการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศหนึ่ง ๆ หรือเปล่า เช่น ถ้าอยู่ดี ๆ ปริมาณการจราจรจากประเทศหนึ่งแทบจะหายไปเลย ก็พอจะบอกได้ว่า ไม่ 1) บริการของกูเกิลถูกแบนในประเทศดังกล่าว ก็ 2) อินเทอร์เน็ตของประเทศนั้นมีปัญหาอะไรสักอย่าง เช่น ช่องสัญญานออกนอกประเทศอาจจะขาด หรือบางทีอาจจะถูกตัดอย่างตั้งใจ (เช่นกรณีซีเรียหรือพม่า) ส่วน Government Requests จะบอกจำนวนคำร้องและเหตุผลที่ส่งมาจากรัฐบาลประเทศต่าง…
-
ผังล้มเจ้า – “โทษฐานที่รู้จักกัน”
สวัสดี 6-ดีกรี อาชญากร 🙂 “เป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างไม่อายว่า ประเทศนี้ถือว่า ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ซึ่งหลายกรณีเราเลือกไม่ได้ เช่น พ่อ-ลูก, ครู-ศิษย์, แพทย์-คนไข้, ผู้บังคับบัญชา-ผู้ใต้บังคับบัญชา, กองทัพบก-โฆษกกองทัพบก ฯลฯ อาจเป็นอาชญากรรมได้ หากคู่ความสัมพันธ์กระทำผิดกฎหมาย ฝรั่งเรียกว่า guilt by association” +– ความจงรักภักดีอย่างล้นเกิน – นิธิ เอียวศรีวงศ์. มติชน, 13 มิ.ย. 2554 ฤาคำว่า “ศีลธรรมและความดีงาม” ของประเทศนี้ไม่ได้รวมถึงการ “ห้ามกล่าวความเท็จ” +– ข้อสังเกตบางประการต่อคำสารภาพเรื่องแผงผังล้มเจ้า – สาวตรี สุขศรี. นิติราษฎร์ ฉบับที่ 23, 2 มิ.ย. 2554 +– แถลงข่าวเรื่อง จดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนนักเขียนทั่วประเทศ ว่าด้วย มาตรา 112 – แปดลบหนึ่งนักเขียน. 7 มิ.ย.…
-
อาญาไม่พ้นเกล้า – อาชญากรรมทางความคิด
[David] Streckfuss says a number of possible solutions in the form of “braking mechanisms” on lèse majesté cases have been discussed by some academics. They include possibly requiring cases to be approved by the Bureau of the Royal Household before going to court, bringing the law in line with standard libel laws, as well as…
-
Mimic: ปรากฏการณ์ก๊อบลวงโลก
บทความ Mimic: ปรากฏการณ์ก๊อบลวงโลก โดย แทนไท ประเสริฐกุล ลงเป็นตอน ๆ ใน onopen ตอน: ( 1 ) ( 2 ) ( 3 ) ( 4 ) ( 5 ) ( 6 ) ( 7 ) ( 8 ) สุดท้ายออกมาเป็นหนังสือ : “MIMIC เลียนแบบทำไม?” – พิมพ์ครั้งแรก พฤศจิกายน 2549 มีสาขาวิชาหนึ่ง เรียกว่า bionics เป็นการศึกษากลไกของสิ่งมีชีวิตเพื่อเลียนแบบความสามารถของมัน เช่น ใบบัวที่น้ำไม่เกาะ เท้าตุ๊กแกที่ติดหนึบกับกำแพงในแนวดิ่ง
-
เราวาดพื้นที่สาธารณะ
ในตอนที่ NASA ส่งแผ่นอลูมิเนียมซึ่งมีจารึกรูปหญิงชาย ออกไปกับยาน Pioneer 10 และ 11 มีคนจำนวนหนึ่งบอกว่า NASA กำลังส่งรูปโป๊ไปอวกาศ – ศีลธรรมของมนุษย์วิ่งออกไปได้ถึงสุดขอบจักรวาล เปียโนบนถนน – ทางม้าลายในวอร์ซอว์ โปแลนด์ บันไดเปียโน ที่สถานีรถไฟใต้ดินที่สต็อกโฮล์ม สวีเดน – เดินแล้วมีเสียง คนเมินบันไดเลื่อน เดินแล้วสนุกกว่า กำแพงคือวิหารของศิลปินข้างถนน – งานกราฟิตี้ชิ้นใหม่จาก Banksy เราวาดพื้นที่สาธารณะได้เอง เริ่มที่การเดิน – Walking in the City * รูปประกอบจาก วิกิพีเดีย, redpolkadot, และ Street Art Utopia วิดีโอโดย The Fun Theory
-
Z to A: The Future of the Net (and how to stop it)
(a draft from 2008) Tony Curzon Price blogs about Jonathan Zittrain‘s LSE lecture on “The Future of the Net (and how to stop it)” From Zittrain to Aristotle in 600 words technorati tags: Internet, governance
-
นิยามปลอมของ “ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” ?
จากกรณี ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา นักกิจกรรมด้านสิทธิผู้ป่วย ถูกแจ้งข้อกล่าวหาว่า “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” ตามมาตรา 14 (1) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ถูกกล่าวหาเป็นข้อมูลสถิติคนไข้ที่เสียชีวิตเและภาพความผิดพลาดในการรักษา ซึ่งใช้ในการรณรงค์ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับมาตราดังกล่าวดังนี้ [English Brief] May 22, 2011. Thai patient rights activist Preeyanan Lorsermvattana of Thai Medical Error Network (TMEN) was accused of “forging computer data”. The data in question is from the Network’s campaign to support Medical Malpractice Victims Protection Bill. — My take:…
-
[29 พ.ค., 5 มิ.ย.] ซีรี่ส์เสวนา: ชีวิต / ศิลปะ / ออนไลน์
ริเริ่มโดย @warong อาทิตย์ 29 พ.ค. 2554 15:00 น. @ The Reading Room สีลม 19 “คนยุค’เน็ตกับเพลงและหนัง: ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจากโลกออนไลน์” คุยกับ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (filmsick), ไกรวุฒิ จุลพงศธร, อธิป จิตตฤกษ์ อาทิตย์ 5 มิ.ย. 2554 15:00 น. @ ร้านหนังสือก็องดิด แยกคอกวัว “มุขปาฐะ คัดลอก การพิมพ์ การโหลด: เหลียวมองการเดินทางอันยาวนานของกิจกรรมการอ่าน” คุยกับ ภาณุ ตรัยเวช, วันรัก สุวรรณวัฒนา, กิตติพล สรัคคานนท์ ข้อมูลเพิ่มเติม: http://thainetizen.org/node/2634
-
ปฏิรูปกองทัพ ขยายงานบริการ สร้างรายได้ เพิ่มดาวน์ไลน์ คุณเองก็ทำได้
(บันทึกจากการไปนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่ลำปาง เมื่อหลายเดือนก่อน) ที่พักที่อยู่นี่ มีพลทหารสองนายดูแลด้วย ประมาณว่าเจ้าของเป็นทหาร (ขับรถมีสติกเกอร์ กอ.รมน.) เลยมาเรียกมา “ปฏิบัติราชการ” ช่วยนายเสียหน่อย ปัดกวาดเช็ดถู ยกเก้าอี้ และเสิร์ฟเบียร์ลูกค้า :p คนนึงบอกว่าช่วงเมษาปีที่แล้ว ถูกเรียกไปอยู่ในราบ 11 ด้วย คือถูกเรียกหมด ไม่รู้ว่าจากไหนจากไหนมั่ง ไม่รู้จักเลย แล้วก็เฮลิคอปเตอร์ รถถัง ฯลฯ เพียบ แต่ปกติเขาอยู่ภาคใต้ กำลังคิดว่า ไอ้ที่กองทัพบอกว่าลดกำลังพลไม่ได้นู่นนี่นั่น เวลามีคนไปกระทุ้งว่าต้องปฏิรูปกองทัพ ลดกำลังพล (และลดตำแหน่งนายพลกินเงินตำแหน่ง) ชะรอยจะเป็นเพราะว่าเดี๋ยวจะขาดแคลน “แรงงานนอกระบบ” เหล่านี้ — เจ๋งกว่าแรงงานพม่าอีกอ่ะ ค่าจ้างก็ถูกกว่า (i.e. ประชาชนจ่ายให้) ไม่บ่นไม่งอน (อย่าหือกะผู้บังคับบัญชานะฮะ ) ไม่ต้องปวดหัวเรื่องใบอนุญาต แถมเป็นบุญเป็นคุณกันอีกอ่ะ อุตส่าห์ดึงตัวมานะเนี่ย จะได้ไม่ต้องไปทำงานหนักฝึกหนักในกองทัพ มาอยู่สบาย ๆ กะนาย :p นึกถึงธุรกิจห้องจัดเลี้ยงของกองทัพนะ…