-
The Crown – กษัตริย์ในฐานะบุคลาธิษฐาน
ตะกี้อ่านใบตองแห้ง เรื่องว่าเราจะก้าวหน้าไปได้แค่ไหน แนวหน้าก้าวไป 7 ก้าว สังคมพร้อมก้าวด้วย 2-3 ก้าว ก็ต้องเอาตามสังคมไหม เพราะสุดท้ายขบวนมันต้องมีคนสนับสนุนและยังไงก็ต้องอยู่ด้วยกันต่อไป (ดู https://www.facebook.com/baitongpost/posts/3277567832325023) เลยขอโพสต์เรื่อง “The Crown” นี้ใหม่ เพิ่มเติมนิดหน่อยจากที่โพสต์ไปเมื่อคืน เพราะคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในการจัดที่ทางของอำนาจ เพื่อให้สิ่งที่เรียกว่า rule of law สามารถเกิดเป็นจริงได้มากขึ้น กลไกอำนาจทำงานเพื่อประชาชนได้จริงมากขึ้น สังคมประชาธิปไตยที่เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ยังมีประโยชน์กับสาธารณะอยู่ (เช่น สวีเดน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร) เขาจัดที่ทางให้สถาบันกษัตริย์อยู่ตรงไหน ในระบอบที่หลักใหญ่ใจความตามชื่อนั้นหมายความว่า อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน การอภิปรายและพิจารณาถึงที่ทางของสถาบันกษัตริย์นี้มีความจำเป็น เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้อำนาจอธิปไตย (ดังจะได้กล่าวต่อไป) ถ้าจะไม่ให้พูดถึงสถาบันกษัตริย์เลยในบทสนทนาเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย นั่นหมายความว่าเราจะต้องไปใช้ระบอบการปกครองแบบอื่นที่ไม่มีกษัตริย์ ซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนต้องการ ในการคิดเรื่องนี้ เราจำเป็นต้องกลับไปที่นิยาม/มโนทัศน์/หรือวิธีในการคิดถึงและเอ่ยถึง กษัตริย์และสถาบันกษัตริย์ (ใครมีความรู้ความเห็นเรื่องนี้ก็เชิญเพิ่มเติม-แก้ไข-แลกเปลี่ยนนะครับ) (1) อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชน ใน Netflix มีซีรีย์ชื่อ The Crown เป็นรื่องราวในสถาบันกษัตริย์ของบริเตน Crown นี้ไม่ใช่มงกุฎประดับหัวที่เป็นสิ่งของ แต่หมายถึงสัญลักษณ์แทนอำนาจอธิปไตย เป็น…
-
ว่าด้วยการเยียวยา – กรณี #TCAS วารสาร และอื่นๆ ในยุค #COVID19 นี้
เรื่องประกาศ #TCAS เพื่อรับเข้าเรียนที่คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ผิดพลาด นี่ก็มีประเด็นเยียวยาอยู่เหมือนกัน และมีแง่มุมของการเยียวยาคนกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งสมควรได้รับการเยียวยา) ที่อาจสร้างความเดือดร้อนใหม่ให้กับคนอีกกลุ่ม (ทั้งที่เขาไม่ได้ทำอะไรผิด)
-
Override / Overrule ปัญหาการเลื่อนบังคับใช้บางหมวดของกฎหมายลำดับสูงกว่าด้วยกฎหมายลำดับต่ำกว่า
กรณีของการพยายามจะเลื่อนบังคับใช้บางหมวดของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยการออกพ.ร.ฎ.มางดเว้นนี่ก็น่าสนใจ คือคิดแบบภาวะปกติเลยนะ ไม่ต้องมีภาวะพิเศษหรือรัฐประหาร ตัวพระราชบัญญัตินั้นจะประกาศเป็นกฎหมายใช้บังคับได้ ต้องอาศัยรัฐสภาเห็นชอบ ส่วนพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีที่มีอำนาจตามกฎหมายนั้นๆ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาได้เลย ตามที่กฎหมายดังกล่าวได้ให้อำนาจนิติบัญญัติบางส่วนเอาไว้กับฝ่ายบริหาร ทีนี้ มันมีสิ่งน่าสนใจ 2 อย่าง ที่กรณีการพยายามเลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยพ.ร.ฎ. ซึ่งตามลำดับศักดิ์ของกฎหมายไทยนั้น ตัวพ.ร.ฎ.อยู่ต่ำกว่าพ.ร.บ. 1) การที่เกิดภาวะแบบนี้ได้ เพราะกฎหมายในมาตราที่ให้อำนาจกับรัฐมนตรีในการออกพ.ร.ฎ.นั้น มีผลใช้บังคับแล้ว รัฐมนตรีจึงจะนำอำนาจดังกล่าวมางดเว้นการบังคับใช้กฎหมายหมวดที่ยังไม่ถูกบังคับใช้ (จากเดิมที่เราคิดว่า กฎหมายต้องถูกใช้ก่อน แล้วการงดเว้นค่อยตามมา) การที่กฎหมายฉบับนี้ หรือฉบับใดๆ ก็ตามมีการกำหนดการเริ่มใช้บังคับเป็นหลายขยัก ทำให้เกิดสถานการณ์แบบนี้ได้ ใช่หรือไม่? (ถ้ากฎหมายทั้งฉบับยังไม่ถูกใช้บังคับเลย โดยเฉพาะมาตราที่ให้อำนาจกับรัฐมนตรีในการออกพระราชกฤษฎีกา สถานการณ์แบบนี้จะไม่เกิด หรือไปเกิดด้วยช่องทางอื่น?) 2) ในแง่ศักดิ์และลำดับอำนาจของกฎหมาย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ สาระสำคัญของกฎหมายฉบับหนึ่ง (กรณีนี้คือส่วนที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของประชาชน) ที่รัฐสภาพิจารณาประกาศเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติแล้ว สามารถถูกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกกฎหมายระดับพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีลำดับต่ำกว่า มาเลื่อนการบังคับใช้ได้ และถ้ายอมให้มีการเขียนกฎหมายลักษณะนี้ โดนไม่มีการท้าทายทางรัฐธรรมนูญ ก็เป็นไปได้ในทางทฤษฎีว่า การเลื่อนหรือการงดเว้นนี้จะสามารถถูกต่ออายุออกไปได้เรื่อยๆ เท่ากับในทางปฏิบัติ จะมีสภาพเหมือนไม่เคยมีการตราพระราชบัญญัติในส่วนสาระสำคัญขึ้นมาเลย นี่เป็นโจทย์ที่น่าคิด ว่าจะทำอย่างไร ในกรณีนี้และกรณีทั่วไป ให้สามารถจำกัดอำนาจของฝ่ายบริหารไม่ให้สร้างสภาวะมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติในลักษณะนี้ให้เกิดขึ้นได้ แต่การคาดหวังกับฝ่ายตุลาการให้ช่วยดุลอำนาจ…
-
การสืบย้อนคนที่เคยใกล้กัน ที่ยังรักษาความเป็นส่วนตัว ในบริบท #COVID19
เขียนไว้ในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ชวนคุยเรื่องแอปติดตามผู้เคยอยู่ใกล้ผู้เป็นโรคที่อาจติดต่อได้ (contact tracing) กับความอธิบายได้ทางนโยบาย การเลือกปฏิบัติ และผลกระทบที่อาจอยู่กับเราไปนานกว่าอายุของวิกฤต? TraceTogether ของสิงคโปร์ ทางสิงคโปร์ที่เราพอได้ยินจากข่าวมาบ้าง วันนี้มีโปรโตคอลกับตัวซอร์สโค้ดออกมาแล้ว BlueTrace เป็นโปรโตคอล ที่เขาใช้คำว่า “privacy-preserving cross-border contact tracing” OpenTrace เป็นแอปที่ใช้ BlueTrace (open source reference implementation) TraceTogether เป็น OpenTrace ที่ปรับแต่งเพื่อใช้ในสิงคโปร์ ทาง GovTech หน่วยงานด้านเทคโนโลยีรัฐบาลของสิงคโปร์ เล่าเรื่องของ OpenTrace ไว้ที่ 6 things about OpenTrace ไอเดียรวมๆ คือใช้บลูทูธเพื่อเก็บข้อมูลว่า เราเคยไปอยู่ใกล้ใครบ้าง (มือถือของเราเคยไปอยู่ใกล้ใครมือถือเครื่องไหนบ้าง) คือมองว่าต้องการติดตามการติดต่อที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างคนสู่คนโดยตรง ดังนั้นสิ่งที่สนใจ คือการอยู่ใกล้ชิดของคน ไม่สนใจว่าคนนั้นจะไปอยู่ที่ไหน — คือเก็บเฉพาะ who ไม่เก็บ where เท่าที่ดูในข่าว Channel News…
-
Rule of Law in Thailand
Political activist Sirawith “Ja New” Serithiwat is brought to hospital on June 28, 2019, with major head injuries. This is the second time, in less than a month, that he got seriously attacked in the public. The authority still has no clue. Image: Democracy Restoration Group
-
เขียนและออกแบบหน้าตานโยบายความเป็นส่วนตัว-นโยบายการใช้ข้อมูล
ข้อควรคำนึงถึงเมื่อเขียนและออกแบบหน้านโยบายความเป็นส่วนตัว/นโยบายการใช้ข้อมูล
-
เจ้าหน้าที่รัฐกับ gated community
เรื่องหลักๆ ที่ผมไม่ค่อยชอบไอเดียที่ทำงานหรือที่พักข้าราชการที่เป็น compound แยกไปต่างหาก (แบบศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะหรือแบบบ้านพักตรงตีนดอยสุเทพ) มันเป็นเรื่องสถาปัตยกรรมการจัดแบ่งพื้นที่เลยนะ คือสุดท้าย มันเป็นไปได้ใช่ไหม ว่าชีวิตคนเหล่านี้จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกแวดวงทำงานน้อยลงอีกมาก
-
Timeline of SIM registration in Thailand + Notes on regulatory impact assessment
Do we pay the high prices of our personal data for, in the end, low or no benefits at all? Timeline of SIM registration policy development from 2005 up until early 2018.
-
อุตสาหกรรมไอทีล้มเหลวที่จะปกป้องผู้ใช้ เพราะเรา move fast and break things?
“Move fast and break things.” เป็นคำขวัญที่โด่งดังของเฟซบุ๊ก เป็นหลักคิดที่ดีเพื่อการสร้างนวัตกรรม ทดลองทำ ดูว่าใช้ได้หรือไม่ เก็บข้อมูล ตรงไหนไม่ดีก็ทำใหม่ ทำซ้ำวนรอบไปเรื่อยๆ — ฟังดูโอเค แต่ถ้าเมื่อใดมันเป็นเรื่องที่จะกระทบกับสาธารณะ คุณทำแบบนี้คนจะเจ็บเยอะ