Category: Informatics

  • Naked Security แนะนำเรื่องความปลอดภัยทางไอที

    Naked Security เป็นบล็อกเกี่ยวกับความมั่นคงทางไอที (IT security) ซึ่งก็รวมถึงความมั่นคงของระบบ ความเชื่อใจได้ของข้อมูล และความปลอดภัยของบุคคล กลุ่มคนเขียนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางไอที ในบริษัท Sophos ซึ่งเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทางด้านนั้น ไม่นานมานี้ Naked Security เพิ่งจะส่งจดหมายเปิดผนึกหา Facebook เสนอแนะข้อปฏิบัติ 3 ข้อ ให้ Facebook ช่วยทำหน่อย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ โดยสรุปก็คือ “Privacy by Default” – ให้ตั้งการแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวเป็น ‘ไม่แชร์’ โดยปริยาย (ถ้าจะแชร์อันไหน ค่อยเลือกว่าจะแชร์ทีละอัน) สกรีนนักพัฒนาแอพพลิเคชัน – ไม่ใช่ให้ใครก็ได้เผยแพร่แอพ ทำให้เกิดแอพจำนวนมากที่หลอกเอาข้อมูลส่วนตัวไปจากผู้ใช้ หรือแอพที่ไม่ได้ทำตามข้อกำหนดเรื่องความปลอดภัย ใช้ HTTPS ในทุกที่ที่ทำได้ – เพื่อให้ปลอดภัยมากขึ้นจากการถูกดักข้อมูลส่วนตัว การถูกขโมยบัญชี และ session hijack แม้จดหมายดังกล่าว จะส่งถึง Facebook แต่อันที่จริง มันสื่อสารกับพวกเราทุกคน ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการเว็บไซต์ ให้พิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย…

  • เจฟ แมคกี: วารสารศาสตร์ในยุคของข้อมูล

    จาก datajournalism.in.th: นักวารสารพยายามรับมือและจัดการกับภาวะสารสนเทศท่วมท้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยยืมเอาเทคนิคการสร้างภาพข้อมูลมาจากนักวิทยาศาสตร์และศิลปินคอมพิวเตอร์ สำนักข่าวบางแห่งได้เริ่มปรับตัวกันแล้ว เพื่อเตรียมก้าวไปสู่อนาคตที่ข้อมูลจะกลายเป็นสื่อกลาง แต่เราจะใช้ข้อมูลเพื่อการสื่อสารได้อย่างไร ? การเล่าเรื่องแบบเดิม ๆ จะสามารถผสานเข้ากับการแสดงสารสนเทศที่ซับซ้อนและโต้ตอบเคลื่อนไหวได้อย่างไร ? วีดิโอ “วารสารศาสตร์ในยุคของข้อมูล” (Journalism in the Age of Data) โดย เจฟ แมคกี (Geoff McGhee) ซึ่งมีความยาว 8 ตอน (รวม 54 นาที) นี้ พยายามค้นหาคำตอบของคำถามเหล่านั้น ดูวีดิโอ และอ่านสรุปประเด็นของวีดิโอ ได้ที่ เจฟ แมคกี: วารสารศาสตร์ในยุคของข้อมูล (วีดิโอ)

  • Thailand Open Data Catalog บัญชีข้อมูลเปิดของไทย

    Open Data Thailand เป็นสมุดทะเบียนสำหรับชุดข้อมูลและเนื้อหาแบบเปิด เว็บไซต์นี้ทำงานด้วยซอฟต์แวร์ CKAN ซึ่งทำให้การค้นหา แบ่งปัน และใช้ข้อมูลซ้ำ ไปเป็นได้โดยง่าย โดยเฉพาะการทำงานเหล่านั้นด้วยวิธีการอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ Open Data Thailand is an open registry of data and content packages. Harnessing the CKAN software, this site makes it easy to find, share and reuse content and data, especially in ways that are machine automatable. ไอเดียของ Open Data Catalog คือ พยายามรวบรวมข้อมูลสาธารณะและข้อมูลภาครัฐ ที่เปิดเผยอยู่แล้วในอินเทอร์เน็ต แต่อาจจะกระจัดกระจายอยู่…

  • สัมภาษณ์ @klaikong เรื่อง “ข้อมูลเปิดภาคสาธารณะ” กับการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง #opendata #opengov

    ผมสัมภาษณ์ พี่แต๊ก ไกลก้อง ไวทยการ (@klaikong) เอาไว้เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2553 ที่ผ่านมา ระหว่างเวิร์กช็อป “Open Data Hackathon” ที่ Opendream คุยกันเรื่องความเคลื่อนไหว “ข้อมูลเปิดภาครัฐ” หรือ “ข้อมูลเปิดภาคสาธารณะ” (Open Government Data หรือ Open Public Data) กับความจำเป็นของสังคมไทยที่ภาครัฐจะต้องเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณะเข้าถึงได้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถร่วมพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กัน ด้วยการตัดสินใจบนข้อมูลที่รอบด้าน ในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วันนี้เพิ่งถอดเทปเสร็จ มีคุยกันเรื่องรูปแบบข้อมูล รวมถึงความเป็นไปได้ในการจะออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง : เรื่องมาตรฐานข้อมูลเนี่ย ประเทศเราทำไม่ได้จริงซะที คุยกันมานานแล้ว ว่าจะต้องมีระบบมาตรฐาน จะต้องมี standard อะไรต่าง ๆ XML ฯลฯ แต่ถึงทุกวันนี้ เท่าที่เห็น ร้อยละ 80 ข้อมูลก็ยังอยู่ในรูปแบบ PDF ซึ่งอันนี้มันสะท้อนเรื่องวิธีคิดว่า ข้อมูลนี้ก็ยังเป็นข้อมูลของหน่วยงานนั้นอยู่…

  • วารสารศาสตร์ข้อมูล: เราควรจะขอบคุณวิกิลีกส์ #wikileaks #opendata

    ความน่าเชื่อถือของวิชาชีพนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ วิกิลีกส์ และ วารสารศาสตร์ข้อมูล Roy Greenslade (twitter: @GreensladeR) เขียน ; อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล (@bact) แปลและเรียบเรียง (CNN) 30 ก.ค. 2553 – การโพสต์เอกสาร 92,000 ฉบับบนวิกิลีกส์ (WikiLeaks) เกี่ยวกับสงครามในอัฟกานิสถาน เป็นตัวแทนของการฉลองชัยของสิ่งที่ผมเรียกว่า “วารสารศาสตร์ข้อมูล” (data journalism) แน่นอนว่ามันต้องมีแหล่งข่าวที่เป็นบุคคล ใครสักคนในที่ไหนสักแห่ง ส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ไปยังเว็บไซต์วิกิลีกส์ แต่ไม่ว่าผู้แจ้งความไม่ชอบมาพากลคนนี้จะเป็นใคร มันก็ไม่ได้สำคัญเท่ากับว่า เนื้อหาของเอกสารเหล่านี้มันบอกอะไรกับเรา ข้อมูลดิบดังกล่าว เป็นขุมทรัพย์ขนาดใหญ่สำหรับนักหนังสือพิมพ์ในสามสำนักข่าว – นิวยอร์กไทมส์ (New York Times สหัรฐอเมริกา), เดอะการ์เดียน (The Guardian สหราชอาณาจักร), และ แดร์สปีเกล (Der Spiegel เยอรมนี) – ที่จะขุดค้นหาข่าวจากมัน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเฉพาะนักข่าวเหล่านั้นเท่านั้น…

  • Knowledge WITH Borders

    ความรู้มีเชื้อชาตินะ Thai Digital Collection … เป็นโครงการที่มุ่งสนับสนุนการศึกษา … สำหรับประชาชนคนไทยเท่านั้น … คำตอบที่ถูกต้องสำหรับคำถามต่อไปนี้: ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย ประโยคต่อไปคือ … เพื่อป้องกันชาวต่างชาติใช้งาน … แต่จำเป็นต้องทำเพื่อปกป้องผลงานของคนไทยให้คนไทยใช้งานเท่านั้น เอาน่ะ อย่างน้อยเขาก็มี ประชารัฐ ให้เลือก, ไม่ใช่ ราชอาณาจักร technorati tags: information access, Thai, protection

  • จัด-จำ-แยก Categorization and Discrimination

    This passage [in Borges] quotes a ‘certain Chinese encyclopedia’ in which it is written that ‘animals are divided into: (a) belonging to the Emperor, (b) embalmed, (c) tame, (d) sucking pigs, (e) sirens, (f) fabulous, (g) stray dogs, (h) included in the present classification, (i.) frenzied, (j) innumerable, (k) drawn with a very find camelhair…

  • Thai political timeline แผนผังการเมืองไทย โดย ThaisWatch.com

    แผนผังการเมืองไทย (timeline เลื่อนไปมาได้) โดย ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย ThaisWatch.com [via @iPattt] technorati tags: Thailand, politics, timeline, visualization

  • เข้านอก ออกใน วัฒนธรรมศึกษา หลังนวยุค งานหนังสือ

    วันนี้ไปงานหนังสือ ตอนไปตั้งใจว่าจะซื้อแค่เล่มเดียว คือ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 (ประชา สุวีรานนท์; สำนักพิมพ์อ่าน; 2552) (อ่านบทวิจารณ์เล่มแรก โดย สุภาพ พิมพ์ชน, @Duangruethai, @birdwithnolegs, ฯลฯ) สุดท้ายตัดสินใจ ยังไม่ซื้อ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 ด้วยเหตุอยากจำกัดงบไม่ให้บาน และคิดว่าไว้ซื้อวันหลังได้ วันนี้เลยขอเฉพาะหนังสือที่คิดว่า คงหาซื้อตามร้านที่ปกติจะไป-ไม่ได้ พวกหนังสือเก่า หนังสือจากสำนักพิมพ์เล็ก ๆ (ซึ่งผมคิดว่า นี่เป็นความดีงามอย่างหนึ่ง[หรือหนึ่งอย่าง?]ของงานหนังสือ ผมได้รู้จัก สถาบันสถาปนา ก็จากงานหนังสือสมัยคุรุสภานี่แหละ เขาเอามาเลหลังลดราคา) ได้สามเล่มนี้มา: ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา (สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ บรรณาธิการ; ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร; 2552) เล่มที่ 3 ในชุด ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7 เล่มนี้มีบทความของ ธีระ นุชเปี่ยม, ชาตรี ประกิตนนทการ, วรสิทธิ์ ตันตินิพันธุ์กุล, นิติ ภวัครพันธุ์…

  • Thai laws and regulations on official document/information administration and archives

    กฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของรัฐ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเก็บรักษาและการทำลายเอกสาร – เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 — มี หมวด 3 ว่าด้วย การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548— แก้ไขเพิ่มเติมฉบับ พ.ศ. 2526 ที่สำคัญคือ: เพิ่มนิยามคำว่า อิเล็กทรอนิกส์ (การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น) และ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์) ลดอายุเอกสารก่อนที่จะให้ส่วนราชการส่งหนังสือเข้าหอจดหมายเหตุ จากเดิม 25 ปี เหลือ 20 ปี (=จัดส่งเข้าหอฯเร็วขึ้น)…

Exit mobile version