อาญาไม่พ้นเกล้า – อาชญากรรมทางความคิด


[David] Streckfuss says a number of possible solutions in the form of “braking mechanisms” on lèse majesté cases have been discussed by some academics. They include possibly requiring cases to be approved by the Bureau of the Royal Household before going to court, bringing the law in line with standard libel laws, as well as reducing sentences. “The problem with proposing reform is that anyone who proposes it also runs the risk of being accused of disloyalty — or actually being charged with lèse majesté,” says Streckfuss. The challenge for Thailand’s leaders is to find the courage to allow open, reasoned and respectful debate in order to preserve what they are so determined to defend.

[เดวิด] สเตร็คฟัส กล่าวว่านักวิชาการบางคนได้ถกเถียงหารือกันถึงทางออกที่เป็นไปได้จำนวนหนึ่ง ที่สามารถใช้เป็น “กลไกกลั่นกลอง” การฟ้องคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ได้. ทางออกเหล่านี้รวมถึง การที่การฟ้องศาลต้องได้รับการอนุมัติจากสำนักพระราชวังก่อน, การรวมกฎหมายดังกล่าวเข้ากับกฎหมายหมิ่นประมาทมาตรฐาน, และการลดโทษลง*. “ปัญหาของการเสนอการปฏิรูปก็คือ ไม่ว่าก็ตามที่เสนอการปฏิรูป จะตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดี — หรือถูกฟ้องด้วยกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์เสียเอง” สเตร็คฟัสกล่าว. ความท้าทายของบรรดาผู้นำประเทศไทยก็คือ การรวบรวมความกล้าหาญ ที่จะเปิดให้มีการถกเถียงอย่างเปิดเผย ด้วยเหตุผล และด้วยความเคารพกัน เพื่อที่จะรักษาสิ่งที่พวกเขามุ่งมั่นเหลือเกินที่จะปกป้อง.

จากบทความ What’s Behind Thailand’s Lèse Majesté Crackdown? โดย Robert Horn. TIME, 2 มิ.ย. 2554.

* โทษปัจจุบันคือ จำคุกขั้นต่ำ 3 ปี สูงสุด 15 ปี และเจ้าหน้าที่/ศาลมักอ้างเหตุว่า เนื่องจากโทษสูง จึงให้ประกันตัวไม่ได้ ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้ส่วนใหญ่ ไม่ได้รับการประกันตัว — effectively, การฟ้องใครก็ตามด้วยข้อหานี้ จะมีโอกาสเอาเขาคนนั้นเข้าไปอยู่ในที่คุมขังได้มาก เว้นแต่ว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นคนมีชื่อเสียง high profile หน่อย อันนี้ก็จะได้รับ “การยกเว้น” ให้ประกันตัวได้

ซึ่งมันน่าเศร้า ที่เราจำเป็นต้องใส่ “เครื่องหมายคำพูด” ครอบคำว่า /การยกเว้น/ เพราะสิทธิในการได้รับการประกันตัว เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ถูกกล่าวหาทุกคนควรจะต้องได้รับการพิจารณา — ไม่ใช่ว่า ตั้งให้ไม่ได้ประกันเป็น default แล้วได้ประกันเป็น exception ได้ประกันทีนึงผู้ถูกกล่าวหาต้องขอบคุณศาล ต้องตื้นตันนายก หรือรัฐบาลเอาไปอวดในที่ประชุมนานาชาติว่า “นี่ไง ๆ คดีนี้เขาได้ประกันนะ เห็นไหม ๆ” (โดยทำเป็นลืมคดีที่เหลือส่วนใหญ่ ซึ่งไม่ได้ประกัน)

สิ่งที่เราควรจะทำ คือเลิกโทษอาญาที่ไม่สมเหตุผลต่าง ๆ ทั้งหมดเสีย เลิกโทษอาญาหมิ่นประมาท เลิกโทษอาญาละเมิดลิขสิทธิ์ เลิกโทษอาญาคดีเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น ให้เหลือแต่โทษทางแพ่ง เปิดโอกาสให้มีการยอมความไกล่เกลี่ยและเยียวยา


3 responses to “อาญาไม่พ้นเกล้า – อาชญากรรมทางความคิด”

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.