นิธิ เอียวศรีวงศ์: กระทรวงไอซีที


มุมมองนิธิน่าสนใจ ที่ว่า “กระทรวง” ก็เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ให้คุณก็ได้ ให้โทษก็ได้ แต่ถ้าเรามองมันแบบพ.ร.บ.คอมฯ เราคงต้องปิดกระทรวงไอซีที (และกระทรวงอื่น ๆ ทั้งหลาย) ทิ้ง แบบที่ปิดอินเทอร์เน็ต เพราะเมื่อมองด้วยสายตาที่เห็นแต่โทษ มันก็จะไม่เจออะไรดีเลย

สรุปศักยภาพของอินเตอร์เน็ตเท่าที่ผมมองเห็นจนถึงทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่สามด้าน 1.คือการเปิดตลาดใหม่ให้แก่สินค้าและบริการ 2.เปิดการศึกษาหรือการเรียนรู้ในแนวใหม่ 3.เปิดพื้นที่ทางการเมืองแบบใหม่ ทั้งสามอย่างนี้อาจเอาไปใช้เพื่อประโยชน์ของสังคมและบุคคลได้ไพศาล แต่เอาไปใช้ในทางที่เป็นโทษของสังคมก็ได้ไพศาลเหมือนกัน ไม่ต่างจากตลาด, โรงเรียน, และพื้นที่การเมืองแบบเก่า ซึ่งใช้ไปในทางเป็นประโยชน์ก็ได้ โทษก็ได้

พื้นที่ทางการเมืองกลายเป็นเรื่องหลักที่กระทรวงไอซีทีให้ความสนใจที่สุด แต่ก็เป็นความสนใจด้านลบมากกว่าด้านบวก (ตามเคย) นั่นคือจะกำกับควบคุมพื้นที่ใหม่ทางการเมืองนี้ ซึ่งเปิดรับคนแปลกหน้าเข้ามาจำนวนมาก ให้สยบยอมต่อโครงสร้างอำนาจตามประเพณีต่อไปได้อย่างไร

เขาหวั่นวิตกแต่ว่าของดีๆ อย่างอินเตอร์เน็ตจะถูกนำไปใช้ในทางเสียหาย (แก่ใครและอะไร… ไม่ทราบได้) ฉะนั้น จึงต้องเข้าไปบังคับควบคุมจนกระทั่งจะทำอะไรดีๆ กับอินเตอร์เน็ตได้ยากขึ้นทุกที

กระทรวงไอซีที โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์, มติชนออนไลน์, 26 เม.ย. 2554


ความคิดเห็นจากทีมผู้ร่างกฎหมาย และผู้เกี่ยวข้อง จากการสัมมนาที่เนชั่น [ซึ่งผมไปร่วมด้วย] เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คอมฉบับใหม่: เรื่องวุ่นๆ (อีกรอบ) “พ.ร.บ.คอมพ์” เวอร์ชั่นอัพเกรด, กรุงเทพธุรกิจ, 2 พ.ค. 2554

หยุด ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์


Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.