พิธีกรรมสาธารณะ/วันที่ระลึกของไทย – Thai public rituals


ในโอกาสพิธีกรรมสาธารณะ (ที่ปีนี้จัดอย่างยิ่งใหญ่ยิ่งยวด)

รวบรวมและจัดประเภท (วันที่ถูกกำหนดให้เป็น)วันสำคัญ/วันที่ระลึก/วันหยุด จากแหล่งต่าง ๆ (ข้อมูลประกอบบทความที่เขียนไม่เสร็จ พิธีกรรมสาธารณะและสิ่งมันระลึกถึง – การบ้านเมื่อสองเทอมที่แล้ว)

พิธีกรรมสาธารณะ/วันที่ระลึกของไทย (Thai public ritual table)

รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับ (ดูอ้างอิงที่ท้ายตาราง) แล้วทดลองจัดกลุ่มตามสิ่งที่ระลึกถึง ได้จำนวน 20 กลุ่ม – บางวันอาจอยู่ในกลุ่มมากกว่าหนึ่งกลุ่ม เช่น วันยุทธหัตถี (วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ที่อยู่ในกลุ่มการทหาร และกลุ่มสถาบันกษัตริย์/กษัตริย์, หรือ วันตำรวจ ที่อยู่ในกลุ่มราชการ/การปกครอง และกลุ่มอาชีพ/กลุ่มคน/องค์กร. กลุ่มจากการทดลองจัดนี้ สอดคล้องกับกลุ่มวันสำคัญของไทยที่จัดโดย ธวัชชัย พืชผล (2545).

กลุ่ม : จำนวนวัน

  • อาชีพ/กลุ่มคน/องค์กร : 23
  • สถาบันกษัตริย์/กษัตริย์ : 23
  • การทหาร : 20
  • การศึกษา/วิทยาการ : 13
  • ประเพณี : 10
  • ราชการ/ปกครอง : 8
  • ศาสนา : 7
  • สาธารณสุข : 7
  • สิ่งแวดล้อม/สัตว์ป่า : 7
  • ครอบครัว/เยาวชน : 7
  • พระบรมวงศาฯ/เจ้านาย : 6
  • ศิลปะ/วัฒนธรรม : 6
  • สงเคราะห์ : 5
  • ประชาธิปไตย : 4
  • สามัญชน : 3
  • เศรษฐกิจ : 3
  • สิทธิเสรีภาพ : 2
  • กีฬา : 2
  • ชาติ : 1

หากนับเฉพาะที่ถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ [ที่คนในสังคมจำนวนมากมีพิธีกรรมสาธารณะร่วมกัน] 14 วัน:
กลุ่มสถาบันกษัตริย์/กษัตริย์มีจำนวนมากที่สุด คือ 5 วัน (วันจักรี, วันฉัตรมงคล, วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ, วันปิยมหาราช, วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว);
ตามด้วยกลุ่มศาสนา 4 วัน (วันมาฆบูชา, วันวิสาขบูชา, วันอาสาฬหบูชา, วันเข้าพรรษา);
ประเพณี 3 วัน (วันขึ้นปีใหม่+สิ้นปี, วันสงกรานต์, วันลอยกระทง);
และอาชีพ 1 วัน (วันพืชมงคล) [วันแรงงาน ราชการไม่หยุด-ธนาคารหยุด].

ในวันหยุดราชการ 14 วัน วันหยุดที่มีลักษณะเฉพาะกลุ่มคนมากที่สุด คือวันพืชมงคล ที่ในแง่หนึ่งมีความสำคัญต่อเกษตรกรและมีลักษณะเฉพาะกลุ่ม แต่ในขณะเดียวกัน พิธีในวันพืชมงคลก็มีลักษณ เชื่อมโยงกับพระมหากษัตริย์อย่างมาก กระทั่งการกำหนดวันในแต่ละปี ก็เป็นประกาศจากสำนักพระราชวังในการกำหนดอุดมฤกษ์.

เมื่อเปรียบเทียบวันหยุดราชการกับวันหยุดธนาคารซึ่งประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากการที่ราชการหยุดในวันเข้าพรรษาแต่ธนาคารไม่หยุด และธนาคารมีวันหยุดภาคครึ่งปีในวันที่ 1 กรกฎาคมแล้ว, ใน 14 วันนี้ วันพืชมงคล ก็เป็นจุดแตกต่างสำคัญระหว่างวันหยุดทั้งสองระบบ โดยมีคู่ตรงข้ามเป็น วันแรงงานแห่งชาติ ที่ราชการไม่หยุดแต่ธนาคารหยุด.

ความเป็นคู่ตรงข้ามของวันพืชมงคลและวันแรงงานแห่งชาตินี้ ดูจะเหมาะเจาะลงตัวมาก เนื่องจากทั้งคู่ต่างก็เป็นวันหยุดเฉพาะกลุ่ม และต่างก็แทนวิถีการผลิตคนละแบบ คือวันพืชมงคลสำหรับวิถีการผลิตแบบเกษตรกรรม และวันแรงงานสำหรับวิถีการผลิตแบบอุตสาหกรรม.

การที่ราชการเลือกหยุดในวันพืชมงคล และไม่หยุดในวันแรงงาน จึงเป็นเรื่องน่าสนใจ.

คำอธิบายโดยมองวิถีการผลิตเพียงอย่างเดียว ว่า ข้าราชการไม่ถือว่าตัวเองอยู่ในระบบแรงงาน และถือว่าตัวเองอยู่ในระบบ เกษตรกรรม ดูจะไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน. แต่เราอาจลองมองจากความเชื่อมโยงของวันพืชมงคลกับสถาบันกษัตริย์ได้ — ซึ่งผู้เขียนยังไม่ได้ศึกษาต่อ.

อนึ่ง ข้อสังเกตต่อวันหยุดราชการ และวันสำคัญต่าง ๆ ของไทย คือ เพิ่งจะถูกกำหนดมาเมื่อไม่นานนี้.

เช่น วันชาติ 5 ธันวา หรือ วันแม่ 12 สิงหา ก็เพิ่งถูกกำหนดขึ้นไม่นานนี้. โดยวันชาติที่ตรงกับวันพระราชสมภพของในหลวงภูมิพล กำหนดในปี พ.ศ. 2503 โดยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. ส่วนวันแม่ที่ตรงกับวันพระราชสมภพของราชินี กำหนดในปี พ.ศ. 2519 โดย สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในช่วงที่คณะราษฎรหมดอำนาจทางการเมือง. โดยก่อนหน้านี้ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม กำหนดให้วันชาติไทยคือวันที่ 24 มิถุนายน (ตามวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง) และวันแม่แห่งชาติคือวันที่ 15 เมษายน.

ดูส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางสัญลักษณ์และอุดมกาณ์ ผ่านการกำหนดวันหยุดและพิธีกรรมสาธารณะได้ที่ ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร (วิกิพีเดีย)

technorati tags:,,,


One response to “พิธีกรรมสาธารณะ/วันที่ระลึกของไทย – Thai public rituals”

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.