ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์: พิทักษ์สิทธิตัว มั่วสิทธิคนอื่น?


เพิ่มเติม: 2009.10.12 – เสียงในอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับเรื่องนี้ จากพันทิป.คอม และ ทวิตภพ (ล่างสุด)
ไม่ใช่หน้าที่นสพ.

หลังจากสื่อหลักรวมตัวจัดตั้ง ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กันไป (ข่าว: ประชาไท ไทยโพสต์ ไทยรัฐออนไลน์) เนื่องจากต้องการรวมตัวกันรักษาสิทธิของตัว ในเรื่องการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะจากเว็บท่า (portal site) ทั้งหลาย ที่คัดลอกเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ไปใช้ฟรี ๆ แถมตัดราคาโฆษณาแข่งกับเว็บไซต์หนังสือพิมพ์อีก

ผมสนับสนุนการปกป้องสิทธิของตัวเอง ของบรรดาสมาชิกชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ผู้สร้างสรรค์ผลงานควรมีสิทธิในงานของตัว ในส่วนที่เขาได้สร้างสรรค์เพิ่มเติมขึ้นมา

อันที่จริง บล็อกเกอร์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ก็ถูกทั้งเว็บท่าและเว็บไซต์ของสื่อเอง ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่เรื่อย ๆ มาโดยตลอดเช่นกัน
(ตัวอย่างเว็บท่า1, ตัวอย่างเว็บท่า2, ตัวอย่างสื่อ1, ตัวอย่างสื่อ2) เพียงแต่ส่วนใหญ่ไม่มีกำลังจะไปเรียกร้องอะไรได้มากนัก โดยไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันเขาพวกเขา
นาน ๆ จะมีฮึดอย่าง @iannnn บ้าง (ภาคแรก, สอง, สาม)
แต่ก็เห็นได้ว่า มันเหนื่อย ใช้เวลา และความพยายามมากมายแค่ไหน
ก็เลยยังไม่ได้มีการรวมตัวอะไรเป็นเรื่องเป็นราวนัก เพื่อปกป้องสิทธิของกลุ่มตัวเอง
ผมเลยมองว่า จริง ๆ การตั้ง ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ก็เป็นเรื่องที่ดี ชาวเน็ตจะได้ดูเป็นแบบอย่าง และตระหนักในสิทธิของตัว ลุกขึ้นมาจับมือกัน ช่วยกันปกป้องลิขสิทธิ์ของตัวเองบ้าง

แต่หลังจากประกาศ ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ไม่นาน วันนี้เว็บไซต์สื่อหลักแห่งหนึ่ง ก็ทำซะเอง 🙁 เอารูปถ่ายจำนวน 6 รูป ของสมาชิกเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาต แถมยังตัด (crop) เอาเครดิตในรูปทิ้ง แล้วใส่ลายน้ำชื่อหนังสือพิมพ์ของตัวเองเข้าไปในรูปด้วย ราวกับว่าเขาเป็นเจ้าของสิทธิ์ในรูป

เข้าทำนอง พิทักษ์สิทธิตัว แต่มั่วสิทธิคนอื่นไหม แบบนี้?

การเคลื่อนไหวเรื่องลิขสิทธิ์ของ ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จะไม่มีน้ำหนักเลย หากยังมีสมาชิกที่ละเมิดลิขสิทธิ์เสียเองแบบนี้อยู่
สมาชิกของชมรมฯ จำเป็นจะต้องดูแลตรวจสอบ กวดขันกันเองให้มาก ไม่ให้มีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นอีก ให้การเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นนั้นเป็นนโยบายสำคัญขององค์กรสื่อที่เป็นสมาชิก เมื่อกวาดบ้านตัวเองให้สะอาดเรียบร้อย การเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของตัวเองก็จะมีน้ำหนัก ไม่มีข้อครหา และได้รับการสนับสนุนจากชาวเน็ตครับ

เอาใจช่วย 🙂

(ต้นข่าวจากทวิตเตอร์ ขอบคุณ @AdmOd)

—-

เพิ่มเติม: 2009.10.12ชาวพันทิป.คอม ก็คุยเรื่องนี้ เริ่มประเด็นโดย หมอแมว (@mor_maew)

เขารำพึง หลังพบ คำตอบมาตรฐาน (ผมอ่านแล้วนึกถึงคำตอบจากบล็อกเกอร์ชื่อดังอีกราย ที่เขียนคู่มือทวิตเตอร์และหนังสือหลายเล่ม คำตอบของเขาต่อกรณี xxx ในตำนาน ก็ประมาณนี้ ให้โทรไปบอก-เงียบ ๆ อย่าเขียนลงเน็ต-กระโตกกระตาก — ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้นะ แล้วมันก็มีที่มาที่ไป ไม่ใช่ไร้เหตุผล เพียงแต่ผมคิดว่า มันขาดเหตุผลของฝ่ายอื่นด้วย):

@mor_maew: คำพูดบางคำอย่าง เลิกเอามือพิมพ์คีย์บอร์ด แล้วโทรมาแจ้ง กับ ใส่เครดิตที่มาที่ไปแน่นอน หากตรวจสอบได้ โอ้วเจ็บ
@mor_maew: สรุปแล้ว จับได้ก็ขอโทษ จับไม่ได้ก็หากินกันไปว่างั้น?
@mor_maew: ไม่ใช่หน้าที่นสพ.ในการตรวจสอบที่มาของภาพที่ลงหน้าหนึ่ง เป็นหน้าที่เจ้าของภาพที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่านั่นคือภาพของตน

เสียงของหมอแมว ก็สะท้อนเสียงในใจของบล็อกเกอร์ธรรมดา ๆ คนนึงอย่างผมเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ก็ต้องขอขอบคุณ น้ำใจของ @evoflo ด้วย ที่ช่วยรับเป็นธุระ ทั้งที่ไม่ใช่ภาระงานของตัว จะแจ้งเรื่องให้ผู้เกี่ยวข้องภายในได้รับทราบและดำเนินการต่อไป

—-

(ว่าจะ quote ทวีต @AdmOd รู้สึกเหมือน การขโมยทองเขามาใส่ พอเจ้าของมาทวงก็ให้คืนแล้วจบกันเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ผิด [protected tweet/ได้รับอนุญาตแล้ว] มาใส่ในที่เขียนข้างบนด้วย แต่รู้สึก เอ มันหมายถึงเรื่องอะไรหว่า ลายน้ำหนังสือพิมพ์ หรือว่า แหวนทองนายก … เดี๋ยว งง ไม่เอาดีกว่า :p)

technorati tags: ,


2 responses to “ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์: พิทักษ์สิทธิตัว มั่วสิทธิคนอื่น?”

  1. ichris: thx เพิ่มเป็นอีกตัวอย่างไปละใช่ ๆ ตอนนั้นเรื่อง vinegagirl ดังมาก

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.