[seminar] Personal Data and Risks from e-Government


Center for Ethics of Science and Technology, Chulalongkorn University, will held an open seminar on personal data and risks in the age of e-government on Wednesday, July 9, 2008, 13:00-16:30 @ Room 105, Maha Chulalongkorn building, Chulalongkorn University (near MBK).
For more info, please contact Soraj Hongladarom +66-2218-4756

ใครสนใจเรื่อง ข้อมูลส่วนบุคคล (personal data) และความเป็นส่วนตัว (privacy)
และร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ยังไม่ได้เกิดสักที ก็เชิญนะครับ

สัมมนา “ข้อมูลส่วนบุคคลกับความเสี่ยงในยุครัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์”
พุธ 9 ก.ค. 2551 13:00-16:30 น.
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไม่มีค่าลงทะเบียน

แจ้งความจำนงที่ รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
โทรศัพท์ 0-2218-4756 หรือ 0-2218-4755 โทรสาร 0-2218-4755
http://www.stc.arts.chula.ac.th/


หลักการและเหตุผลและวัตถุประสงค์

เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสารสนเทศ (Information Society) ภาครัฐและภาคเอกชนใช้ไอทีในการรื้อปรับระบบและกระบวนการผลิต ปฏิรูปองค์การเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก เทคโนโลยีสารสนเทศเช่นระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ตลอดจนโครงข่ายโทรคมนาคมผ่านดาวเทียม ทำให้การติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและลดต้นทุน ภาครัฐจึงผลักดันนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Society) โดยใช้บัตรประชาชนแบบเอนกประสงค์ หรือบัตรสมาร์ทการ์ดเป็นกุญแจสำคัญในการให้ประชาชนเข้าถึงบริการของภาครัฐ

ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐต่างเก็บข้อมูลของลูกค้าและประชาชนในฐานข้อมูล (databases) เพื่อการวิเคราะห์ประมวล เช่น องค์กรธุรกิจสามารถใช้ฐานข้อมูลเพื่อการวิจัยทางตลาดและติดตามการ เปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้บริโภค ในขณะที่ภาครัฐสามารถใช้ฐานข้อมูลในการประมาณการจัดเก็บภาษี และการวางแผนงบ ประมาณ การจัดการเลือกตั้ง การจัดการแรงงานต่างด้าว ตลอดจนการติดตามอาชญากรข้ามชาติ เป็นต้น การจัดทำบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดจะช่วยเอื้อให้ภาครัฐสามารถประมวลข้อมูล จากฐานข้อมูลที่กระจัดกระจายตามองค์กรต่างๆ เพื่อให้เกิดการบูรณาการและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานตามนโยบาย บัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดมี ไมโครชิปบรรจุข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส/ใบหย่า ข้อมูลสวัสดิการสังคม ข้อมูลภาษี ใบอนุญาตขับขี่ ข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น หมู่เลือด โรคประจำตัว ประวัติสุขภาพ ตลอดจนข้อมูลการเป็นหนี้ธนาคาร เป็นต้น ประชาชนต้องใช้บัตรสมาร์ทการ์ดในการยืนยันตน เพื่อใช้บริการภาครัฐ

อย่างไรก็ตามการบรรจุข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากบนบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด ทำให้เกิดความเสี่ยงในหลายๆด้าน นักวิชาการและประชาชนจำนวนมากไม่มีความมั่นใจในระบบความมั่นคงของฐานข้อมูล และมีความกังวลในความเสี่ยงในกรณีการขโมยข้อมูลหรือการสูญหายของบัตรประชาชน นอกจากนี้การบรรจุข้อมูลหมู่เลือดและโรคประจำตัวบนบัตรประชาชน อาจทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน และละเมิดเสรีภาพในกรณีของผู้ติดเชื้อเอดส์ รัฐยังไม่มีการประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Act) และไม่มีการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy rights) ทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านอื่นๆ ตามมา เช่น ในกรณีข้อมูลส่วนบุคคลถูกทำลาย ดัดแปลง หรือถูกขโมย โดยผู้ที่ไม่มีสิทธิเข้าถึงฐานข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลลายนิ้วมือและข้อมูลพันธุกรรม ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีค่ามากในทางอาชญากรรม

อันตรายจากความเสี่ยงของการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องใหม่ และประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความตื่นตัวและไม่เข้าใจถึงความเสียหายและผล กระทบในทางลบของการมีฐานข้อมูลประชาชน และบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ภาครัฐเองก็ไม่มีความพร้อมในการให้หลักประกันของความมั่นคงของฐานข้อมูลส่วน บุคคลของประชาชน ความล้มเหลวของการประมูลบัตรประชาชนเอนกประสงค์ในอดีต สะท้อนปัญหาของระบบควมมั่นคงของไมโครชิป และการขาดการประสานงานที่ดีของหน่วยงานภาครัฐ การใช้บัตรประชาชนหรือสมาร์ทการ์ดอย่างแพร่หลายในอนาคตเป็นการปูพื้นฐานให้ กับการใช้บัตรสมาร์ทการ์ดเพียงใบเดียว ในการทำธุรกรรมทุกอย่าง ในการเข้าถึงบริการภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy rights) และการละเมิดสิทธิเสรีภาพกรณีของผลกระทบจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หรือความเสียหายของระบบฐานข้อมูล

ดังนั้นการจัดสัมมนาในประเด็น ข้อมูลส่วนบุคคลกับความเสี่ยงในยุครัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้จัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ คือ

  1. เพื่อให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลและผลกระทบจากความเสี่ยง
  2. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ส่วนบุคคล ผลกระทบของบัตรสมาร์ทการ์ด และการขาดแคลนการคุ้มครองทางกฎหมาย
  3. เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสิทธิเสรีภาพ และอิสรภาพของประชาชน ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการสัมมนา

  1. ทำให้เกิดความตระหนักและเข้าใจถึงความจำเป็นของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  2. ทำให้เกิดความเข้าใจความเสี่ยงในมิติต่างๆ ของฐานข้อมูลประชาชน และบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด
  3. ทำให้เกิดแนวความคิดหลากหลายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

กำหนดการ

  • 13:00 “ประเด็นทางจริยธรรมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล” รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
  • 13:15-16:30 เสวนาโต๊ะกลม: “การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล: หลักการและปฏิบัติ”
    ผู้ร่วมเสวนา: ดร. นคร เสรีรักษ์, คุณวันฉัตร ผดุงรัตน์, คุณไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ, ท่านนันทน อินทนนท์
    ผู้ดำเนินการอภิปราย: ผศ. ดร. กฤษณา กิติยาดิศัย

จัดโดย

  • กลุ่มวิจัยจริยธรรมและมิติทางสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ศูนย์รณรงค์นโยบายสื่อมวลชน
  • ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

technorati tags:
,
,


Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.