know by chances / free riders


interesting blogs, found by chances*, on different occasions

  • Created by Tee นักเรียนเอกฟิสิกส์ สนใจการเงินและการเมือง
  • Epsilon เธอไม่ได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์
  • let’s go unpopular, let go the popular! เพลงขอบ-นอกกระแส
  • fatro | listen think and bite เค้าเรียนทำหนังมา แต่ตอนนี้เค้าทำอะไรผมก็ไม่รู้แฮะ

these chances were actually either queries to Google or links-links from/to somewhere++.. / this is the Web

คำถาม:
สิ่งที่ผมทำในโพสต์นี้ ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการ “กฺ๊อปลิงก์มาแปะ ๆ”
แบบนี้เรียกว่าเป็น “free rider” ไหม ?
ถ้าใช่ แสดงว่า อย่างน้อย free riders ก็ยังมีประโยชน์ในแง่ของการแพร่การข้อมูลข่าวสารอยู่
ถ้าเป็นกรณี www ก็จะเพิ่มประโยชน์ในแง่ของการเพิ่ม connectedness เข้าไปด้วย (สร้างการเชื่อมโยง/ลิงก์)

ยังไงดี คือถ้านับในแง่ เนื้อหา (ภาพ เสียง ข้อความ ฯลฯ) กรณีการทำลิงก์เนี่ย มันไม่ได้สร้างเนื้อหาอะไรเพิ่ม
เพราะงั้นถ้ามองจากมุมเนื้อหา การอ่าน ๆ แล้วแค่ทำลิงก์ ก็น่าจะถือเป็น free rider ?

แต่ถ้านับในแง่เครือข่าย ซึ่งลิงก์นี่แหละ เป็น “เนื้อหา” หลักของมัน คนที่เอาแต่อ่าน ไม่ยอมเขียน แต่ทำลิงก์ (ทั้งทาง “กายภาพ” โดยการสร้างแท็ก <a href… และทางอื่น เช่นบอกปากเปล่ากับเพื่อน) ก็ไม่น่าจะนับเป็น free rider

ส่วนตัว ผมคิดว่าคนอ่านโดยไม่เขียน แต่บอกต่อ ไม่ใช่ free rider นะ
เรื่องนี้เริ่มคิด เพราะว่าคุณวิลาศ นอกกรอบ เป็นคนจุดประกาย

ในกรณีของปัญญารวมหมู่ สิ่งที่ “ดูเหมือนจะเป็น free rider” น่าจะเป็นตัวแปรสำคัญในการคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุด (หรือใกล้ดีที่สุด)
พฤติกรรมการ “บอกต่อ” นี้ พบเห็นได้ทั่วไปอยู่แล้วในสังคมเรา และเป็นสิ่งที่การตลาดสมัยใหม่ให้ความสำคัญ

เมื่อเครือข่ายสังคม/เครือข่ายสังคมออนไลน์ ทำให้สิ่้งที่เรียกว่า “peer production” แพร่หลายมากขึ้น
นิยามของ free rider ซึ่งอิงอยู่กับ “ต้นทุนการผลิต” (costs of production) ก็น่าจะต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับสัดส่วนต้นทุนที่เปลี่ยนไปเสียหน่อย …

ผมคิดไม่ออกหรอก แต่สงสัย ตั้งคำถาม

… อย่างไรดี ?

technorati tags:
,
,


6 responses to “know by chances / free riders”

  1. อาจไม่ต้องคิดนิยามใหม่ของ free rider ก็ได้ เพราะว่าจริง ๆ แล้ว ลักษณะแบบนี้ (อ่าน/แปะลิงก์ หรือกระทั่งใช้ software open-source เฉย ๆ โดยไม่ได้ "contribute" อะไรกลับไป) อาจไม่ใช่ free riderในทางเศรษฐศาสตร์มันมีแนวคิดของ network effect ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ externality (ผลกระทบจากการแลกเปลี่ยนที่เกิดกับคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการแลกเปลี่ยน) ซึ่งน่าจะเอามาคิดตรงนี้ได้เลย โดยอาจไม่ต้องสร้าง concept ใหม่ทีนี้ ในเน็ต มี free rider ได้หรือเปล่า?

  2. ในเน็ตนี่ ของที่แลกเปลี่ยนเป็นดิจิทัล ต้นทุนคือที่จัดเก็บและแบนด์วิธถ้าพูดถึง เนื้อหาดิจิทัล การที่มีใครดึงเอาเนื้อหาดิจิทัลไป (ไม่ว่าจะ free rider หรือไม่) ก็ไม่ได้ทำให้เนื้อหาต้นฉบับสูญหายไป (ถ้ายังแยกออกว่าอะไรคือต้นฉบับนะ :P)แต่ถ้าพูดถึง แบนด์วิธ free rider ก็ทำให้การจราจรคับคั่งได้แต่การเข้าถึงเน็ตได้นี่ มันก็ต้องมีค่าใช้จ่าย เช่นจ่าย ISP, ISP ก็เอาไปเพิ่มแบนด์วิธอะไรพวกนี้ได้ … แบบนี้ก็จะอาจจะไม่ free rider แล้ว(แม้เงินอาจจะไม่ได้ไปถึงเซิร์ฟเวอร์ที่ให้ดาวน์โหลดจริง ๆ แต่ไปอยู่ที่วงจรโดยรวม แต่ก็ถือเป็นประโยชน์กับผู้ใช้เน็ตคนอื่น ๆ ? ..แล้วก็จะมีผลต่อผู้ให้บริการเนื้อหาในตอนแรกด้วยในที่สุด ..)- โดยสรุปก็คือ ยิ่งคนเข้าเน็ตเยอะ ก็จะยิ่งทำให้เน็ตมีประโยชน์มากขึ้น … แบบนี้คือ network effect ใช่้ไหมครับ ?เท่าที่ผมเข้าใจ jittat กำลังบอกว่า ในเน็ต (โดยเฉพาะกับเนื้อหาดิจิทัล? หรือว่าทั่ว ๆ ไป?) มันไม่น่ามี free rider ได้การมีคนมาอ่านเยอะ ๆ ถึงแม้ไม่ได้ให้อะไรกลับ ก็ยังเป็นเรื่องที่ดีได้ ?

  3. อืม… ไม่เคยคิดไปไกลแบบนั้นเหมือนกัน(ตอนที่เขียนแค่สงสัย)น่าจะอย่างนั้นนะ (เช่น เราอาจขายโฆษณาได้ แต่นั่นอาจไม่นับ อย่างน้อยเราก็เพิ่ม counter) ถ้ามีคนอ่านมาก ๆ เลยจริง ๆ (เลยค่าค่าหนึ่ง) มันก็อาจเป็นมูลค่าให้เราได้ (youtube, blogger, myspace, etc) หรือไม่ก็ทำให้คนเขียนเป็นที่รู้จัก เช่น (หลายคนรู้จัก bact ก็เพราะว่าเว็บนี้นี่แหล่ะ ผมว่าคนอ่านจำนวนหนึ่งเลยก็อ่านเฉย ๆ นะ) ทีนี้พอคนเขียนจะทำอะไร ก็อาจจะทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นที่รู้จักแล้วส่วนประเด็นที่ว่าคนมามาก จราจรคับคั่ง ทำให้ต้องขยาย bandwidth อันนี้ น่าคิดว่าจริง ๆ free rider ก็ทำให้ผู้ผลิต (แหม ไม่อยากใช้คำนี้เลย) มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจริง ๆ แต่ไม่รู้ว่าจะนับผลที่ได้ (จากความฮิตของเว็บ) ออกมาทดแทนกันได้หรือเปล่า

  4. ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมและลิงค์ถึงกันสั้นๆ ก่อนเพราะยังเจ็บตาอยู่

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.