ผลการประเมินคุณภาพ (ภายใน) สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT)
โดย งานประกันคุณภาพการศึกษา กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผลการประเมินครั้งที่ 3 (2 ก.พ. 2548)
- ผลการประเมินครั้งที่ 4 (28 ต.ค. 2548)
(ครั้งที่ 1 เหมือนไม่ได้เข้าร่วม ; ครั้งที่ 2 ลิงก์เจ๊ง กลายเป็นของคณะนิติแทน – -)
ผลการประเมิน ด้าน อาจารย์/สัดส่วนอาจารย์ต่างประเทศ (เนื่องจากเป็นส.นานาชาติ)/ผลงานวิชาการ ห้องสมุด/ระบบสารสนเทศ ทุนการศึกษา/ทุนวิจัย การบริหาร/งบประมาณ อะไรพวกนี้นี่ โอเค
แต่ ข้อสังเกต/เสนอแนะ (หมายความว่า ควรปรับปรุง) น่ะ ยาวเฟื้อย:
- คุณภาพนศ.ที่รับเข้ามาประเมินได้ไม่ชัดเจน (ที่สอบผ่าน สกอ. มีอัตราการแข่งขันสูง (จำนวนเลือก:จำนวนรับ), เลือกเป็นอันดับหนึ่งสูง, คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับเดียวกับม.รัฐทั่วไป — แต่ยังไม่มีการประเมินการรับนศ.จากช่องทางอื่น)
- จำนวนนศ.จบตามกำหนดเพียง 50% / ลาออกกลางคันจำนวนมาก (อาจเกี่ยวข้องกับคุณภาพนศ.ที่รับเข้ามา)
- สัดส่วนของนศ.ที่สอบผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ (TU-GET 550) ยังไม่สูงนัก – ถ้าคิดว่านี่คือสถาบันนานาชาติ (จากรายงานครั้งที่ 4: ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 ถ้าใครไม่ผ่าน TOEFL 500 หรือ TU-GET 550 ก็จะไม่ให้จบละ)
- ภาระงานของนศ.ป.เอกอาจจะมากไป (ตีพิมพ์เฉลี่ย 5 บทความ/คน – เกณฑ์คือ 3)
- ภาระงานของอาจารย์อาจจะมากไป (จากจำนวนนศ.(ภาระงานสอน), จำนวนผลงานวิชาการ)
- อาจจะปรับปรุงหลักสูตรถี่เกินไป
- อัตรา เงินเดือนบุคลากร : ค่าใช้จ่ายทั้งหมด อาจจะสูงไป
- ลงทุนด้านทรัพยากรด้านต่าง ๆ สูง (ไป ? — คงจะเป็นช่วงนี้ล่ะมั้ง เพราะสร้างตึกเยอะมาก สงสัยเก็บกด เมื่อก่อนมันไม่มีที่ให้สร้างน่ะ)
- ยังไม่มีผู้บริหารที่รับผิดชอบดูแลการประเมินโดยตรง
โชคดีที่ผมจบมานานแล้ว / ไม่ต้องสอบ TU-GET ไม่งั้นคงแย่ เพราะรู้สึกว่าข้อสอบมันประหลาด ๆ ทำลำบาก / ไม่ได้หมายความว่ามันยากน่ะ มันก็สไตล์ TOEFL น่ะแหละ แต่ไอ้เรื่องที่เอามาให้อ่านนี่ ปวดหัวตึ๊บ – -“
อย่าง TOEFL นี่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นประเภทข่าว หรือไม่ก็ทำนองสารคดี ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์ ก็จะออกแนว popular science
แต่คนออกข้อสอบ TU-GET (อย่างน้อยก็สมัยผมล่ะ) ไม่รู้แกนึกไง โห เอาเรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ อะไรพวกนี้มาให้อ่าน – -” โห รู้เรื่องตายล่ะ
(คือมันก็อ่านรู้เรื่องแหละ แต่ช้าไง ทำไม่ทันจริง ๆ TOEFL นี่ผมทำทันหมดนะ/ยกเว้น writing — แต่ไอ้ TU-GET นี่ อืดสนิท ทำไม่ทัน)
TOEFL ผมได้ 600 แต่คะแนน TU-GET นี่ ..เท่าไหร่จำไม่ได้ละ (ไม่อยากจำ) แต่มันห่วยเลยล่ะ
ห่วยขนาดไหน ? ก็คิดดู ตอนนั้นที่สอบ TU-GET น่ะ ก็เพื่อเอาไปสมัครวิทย์คอม ป.โท ของมธ. ผมไปขอพี่ที่รับสมัครอ่ะ ว่าใช้คะแนน TOEFL แทนได้ป่าว – – ไม่กล้าใช้คะแนน TU-GET
แต่สำหรับคนที่เรียนทางด้านนั้นมา (หรืออ่านหนังสือพิมพ์ไทยภาษาอังกฤษบ่อย ๆ) TU-GET ก็คงสบาย ๆ ล่ะ (อย่างที่บอก มันไม่ได้ยากกว่า TOEFL หรอก เผลอ ๆ อาจจะง่ายกว่าด้วย .. แต่ปวดหัว)
5 responses to “SIIT QA results”
ผลประเมินไม่ค่อยดีนะ
ด้าน อาจารย์/สัดส่วนอาจารย์ต่างประเทศ/ผลงานวิชาการ ห้องสมุด/ระบบสารสนเทศ ทุนการศึกษา/ทุนวิจัย การบริหาร/งบประมาณ นี่โอเคแต่ ข้อสังเกต/เสนอแนะ ยาวเฟื้อย* คุณภาพนศ.ที่รับเข้ามาประเมินได้ไม่ชัดเจน (ที่สอบผ่าน สกอ. มีอัตราการแข่งขันสูง (จำนวนเลือก:จำนวนรับ), เลือกเป็นอันดับหนึ่งสูง, คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับเดียวกับม.รัฐทั่วไป — แต่ไม่ได้มีการประเมินการรับนศ.จากช่องทางอื่น)* จำนวนนศ.จบตามกำหนดเพียง 50% / ลาออกกลางคันจำนวนมาก (อาจเกี่ยวข้องกับคุณภาพนศ.ที่รับเข้ามา)* สัดส่วนของนศ.ที่สอบผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ (TU-GET 550) ยังไม่สูงนัก – ถ้าคิดว่านี่คือสถาบันนานาชาติ (ตอนนี้เห็นน้องมันว่าจะ ถ้าสอบ TOEFL ไม่ผ่านเกณฑ์ ก็จะไม่ให้จบละ)* ภาระงานของนศ.ป.เอกอาจจะมากไป (ตีพิมพ์เฉลี่ย 5 บทความ/คน)* ภาระงานของอาจารย์อาจจะมากไป (จากจำนวนนศ.,จำนวนผลงานวิชาการ)* อาจจะปรับปรุงหลักสูตรถี่เกินไป* อัตราเงินเดือนบุคลากร : ค่าใช้จ่ายทั้งหมด อาจจะมากไป* ลงทุนด้านทรัพยากรด้านต่าง ๆ สูง (ไป ? — คงจะเป็นช่วงนี้ล่ะมั้ง เพราะสร้างตึกเยอะมาก สงสัยเก็บกด 😛 เมื่อก่อนมันไม่มีที่ให้สร้างน่ะ)* ยังไม่มีผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการประเมินโดยตรง
ทำไมมี "อาจจะ" เยอะจัง
ก็เป็น "ข้อสังเกตุ/เสนอแนะ" ไง เลยมีแต่ "อาจจะ" :P"อาจจะ" เป็นเพราะว่าคนประเมินเค้าก็ประเมินไปตามเกณฑ์ปกติรึเปล่า แต่แต่ละคณะ/สถาบัน ก็ "อาจจะ" มีนโยบายหลาย ๆ เรื่องไม่เหมือนกันเพราะงั้นบางทีผลประเมินออกมาแบบนึง คนประเมินเค้า "ก็คง" ไม่กล้าฟันธงไปว่า เอ้ย นี่ไม่ดีนะอย่างเรื่องสัดส่วนเงินเดือนบุคลากรที่เค้าว่าสูงนี่ มันก็คงมาจากนโยบายของสถาบันน่ะ ที่พยายามจะจ้างเฉพาะอาจารย์วุฒิป.เอก และให้ค่าตอบแทนในเรตเอกชน "We offer attractive salaries, remuneration and benefit comparable to private sectors"แล้วก็พยายามไม่ลงทุนในสินทรัพย์ที่มันเสื่อมราคาได้ อะไรเช่าได้ก็เช่า หรือไม่ก็ outsourceตึกอะไรก็ไม่ได้สร้างมาหลายปีละ (ที่เต็ม เพิ่งจะได้มาสร้ืางเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา หลังจากได้ที่เพิ่ม)พอรายจ่ายอื่น ๆ มันน้อย ไอ้เงินเดือนมันเลยโดดขึ้นมาเด่น "มั้ง"แต่จริง ๆ ลดก็ได้นะเนี่ยอย่างบางวิชานี่ก็ไม่เห็นจำเป็นจะต้องให้อ.วุฒิป.เอกมาสอนเลย – -อย่าง เขียนโปรแกรมเบื้องต้น หรือ วงจรอิเล็กเบื้องต้น อะไรพวกนี้อ่ะ เปลืองเปล่า ๆให้อ.วุฒิป.โท หรือเด็กเรียนป.เอก สอนก็เหมือนกันม้าง – –
ร้อยละของจำนวนวิทยานิพนธ์ (ป.โท/ป.เอก) ที่ตีพิมพ์ในระดับประเทศ (N ; ตัวชี้วัดที่ 30.1) และระดับนานาชาติ (I ; ตัวชี้วัดที่ 30.2) ต่อจำนวนนศ.ระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2547 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์http://bact.blogspot.com/2006/09/thammasat-as-res…