out of the box


วันนี้ได้คุยกับคุณวิลาศ เว็บนอกกรอบ.org นัดเจอแถวสยาม วัยรุ่นมาก 😛

คุยโน่นคุยนี่ ได้คำคมมาอันนึง เพื่อนแกว่าไว้ (ทำนองนี้):

“(อย่า) ตัดเท้าให้เข้ากับรองเท้า”*

* เหมือนจะมีหลายคนพูด — ค้นเว็บดู เจอหนึ่งลิงก์ที่มีวลีนี้ ดร. เสรี พงศ์พิศ เป็นคนว่าไว้: “คนเราชอบตัดตีนให้เข้ากับเกิบ” — girl friday ก็บอกว่าเพื่อนเธอว่า อ.ปรีดี ก็เคยว่าไว้: “อย่าตัดตีนให้เข้ากับเกือก”

เหมือนจะพูดไปถึงเรื่องการผลิตเป็นจำนวนมากในระบบอุตสาหกรรม
เมื่อผลิตของอย่างเดียวกัน ซ้ำ ๆ เยอะ ๆ แล้วมันจะมีประสิทธิภาพ ราคาประหยัด เราก็ควรจะผลิตแต่แบบนั้น

ถ้าจะมีคนอยากได้แบบอื่น ?

มีสองวิธี

  1. เปลี่ยนแบบ ให้ถูกใจผู้บริโภค … ตัดรองเท้า ให้เข้ากับเท้า
  2. เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ให้ถูกใจแบบที่มี … ตัดเท้า ให้เข้ากับรองเท้า

การเปิดเพลงซ้ำ ๆ กรอกหูอยู่ทุกวัน อาจจะเป็นวิธีที่สองก็เป็นได้

พูดไปก็นึกถึงการประโคม/รณรงค์ “รัฐนิยม”

เรื่องตัดรองเท้านี่ เราเอาไปใช้เทียบกะเรื่องการปกครองได้รึเปล่า ?

ทั้งประเทศใช้กฎหมายกลางแบบเดียวกันหมด กับแต่ละพื้นที่สามารถมีกฎหมายท้องถิ่นได้
อย่างไหนจะใส่พอดีเท้ากว่า สบายกว่า

กระจายการปกครอง แต่ยังมีวิธีปกครองแบบเดียวอยู่ ..จะเรียกว่ากระจายได้รึเปล่า ?
คือ กระจายอำนาจการตัดสินใจออกไปก็จริง แต่สุดท้าย วิธีคิด กระบวนการในการตัดสินใจ ก็ยังเป็นแบบเดียวกันอยู่รึเปล่า ?

แต่ก็นั่นล่ะ ในขณะที่บางคนว่า มันคงไม่ใช่เรื่องผิด ที่คนเราจะเกิดมาเท้าใหญ่เล็กไม่เท่ากัน
แต่คนอีกกลุ่มก็จะว่า ถ้าปฏิบัติต่อคนแต่ละกลุ่ม แต่ละพื้นที่ แต่ละวัฒนธรรมไม่เหมือนกัน อย่างนี้จะไม่กลายเป็นเรื่องของ สองมาตรฐาน เลือกปฏิบัติ ไม่เท่าเทียมกัน ไปหรือ ?

ว่าไงครับ ?

tags:


4 responses to “out of the box”

  1. ถ้าเทียบกับประชาธิปไตย"ตัดรองเท้าหนังให้เข้ากับเท้าคนส่วนใหญ่" ?กระจายอำนาจ"ตัดรองเท้าแตะหลายแบบให้เข้ากับหลายเท้า" ?เรื่องปฏิบัติไม่เท่าเทียมกันนั้นก็คงต้องไปหาช่างรองเท้าตัดกันเอาเอง !?!

  2. ถ้าจะกระจายอำนาจจริงๆ ปัญหาเรื่องสองมาตรฐานต้องหมดไปมั๊ง เพราะคนที่ตัดสินใจว่า จะตัด 'เท้า' หรือตัด 'รองเท้า'ก็คือท้องถิ่นเอง ไม่ใช่ส่วนกลางวันก่อน นักวิชาการคนนึงพูดว่า เราเริ่มนับหนึ่งเรื่องกระจายอำนาจมาตั้งแต่ปี ๒๔๗๖ ซึ่งมันเป็นการเริ่มต้นที่นานเหลือเกินปัญหาคือ มันไม่มีการกระจายอำนาจทางการคลังอย่างจริงจัง ไม่มีมาตรการเรื่องภาษี แถมอบต.กับอบจ. และองค์กรท้องถิ่นอื่นๆ ก็ยังชอบทะเลาะกันอีกด้วย (เขาลือกันว่าอย่างนั้นน่ะ :p)

  3. เพื่อนเราบอกว่า ปรีดี พนงยงค์ เคยพูดเอาไว้ แต่เป็นประโยคที่ว่า อย่าตัดตีนให้เข้ากับเกือก :p

  4. สำหรับผมรองเท้าของแต่ละคน ก็ต้องเป็นคู่ที่ใส่แล้วสบายเท้าที่สุดถ้าจะมองที่ "สบายเท้าที่สุด" มันมีมาตรฐานเดียวครับแต่ถ้าจะเอารองเท้าของแต่ละคนมาเทียบกัน มันก็ "สองมาตรฐาน" แน่นอนครับ แต่มันจะถูกมองว่าเป็นปัญหาหรือเปล่า อันนี้แล้วแต่คน

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.