For God’s Sake


“ ปัญหาของการเมือง มันไม่ใช่ปัญหาของการมีผู้นำที่ดีหรือผู้มีคุณธรรม หรือการที่มีใครบางคนที่มีอิทธิพลทางการเมืองขณะนี้ บอกว่านายกฯ คนนี้เป็นคนดี และทุกคนเชื่อว่าเป็นคนดี… นี่ไม่ใช่กระบวนการประชาธิปไตย นี่ไม่ใช่โลกการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย
การที่คุณบอกว่าคนๆ หนึ่งเป็นคนดีแล้วจบ คือเป็นคนดีแล้วคุณต้องดีตาม… มันไม่ใช่

สาระของกิจกรรมการเมือง มันไม่ใช่เรื่องเอาคนดีมาปกครองประเทศ แต่คือการตรวจสอบดุลอำนาจ การ Check and Balance [ตรวจสอบและถ่วงดุล] อำนาจทางการเมืองต่างหาก และนั่นคือเงื่อนไขสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยทำงานได้ ”

“ ทำไมประเด็นคุณธรรมความดี จึงไปกันได้กับสังคมการเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อประธานองคมนตรีออกมารับรองว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นคนดี แล้วทุกอย่างจบ ”

ข้างบนนั่น คือส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ อ.เกษม เพ็ญภินันท์ นักวิชาการด้านปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คุยกับนักปรัชญา: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
มีหลายข้อคิดเห็นที่น่าสนใจ ถ้ามีเวลาก็อยากให้ลองอ่านกัน (มันค่อนข้างยาว)

ผมชอบตอนหนึ่งมาก เพราะคิดว่ามันอธิบายได้ดี ว่าทำไมจึงเกิดกรณีขายหุ้นชินคอร์ปแบบไม่เสียภาษีได้ (รวมถึงกรณีอื่น ๆ ที่เราเห็นก็เห็นอยู่ว่ามันไม่ควร แต่ก็ยังมีคนทำกันได้ ..เพราะมันไม่ผิดกฎหมายไง ไม่ใช่แค่ทักษิณคนเดียวที่ทำลักษณะนี้ มันยังมีอีกเยอะ เพียงแค่มันไม่ใหญ่เท่าไม่ดังเท่า)

[คำถาม] การมองการเมืองแบบขาวดำ ​หรือ​โลกทัศน์ดี​เลว​ ​ไม่​สะท้อนว่าสังคมไทยมีระดับศีลธรรมสูงหรอก​หรือ


ไม่​ได้​สะท้อนอะ​ไรเลย​ ​ผมคิดว่าปัญหาศีลธรรม​ใน​สังคมไทยคือ การมีข้อบังคับมากกว่าหลักปฏิบัติ​ ​มีข้อบังคับห้ามโน่นห้ามนี่ตลอดเวลา​

สิ่งที่น่าสนใจคือ เวลาที่คนไทยสอนศีลธรรม​หรือ​สอนเนื้อหาทางศาสนา​ ​คุณเน้นศีล [ข้อห้าม] มากกว่าธรรม​ ​เวลาที่คุณห้าม​ ​นั่นหมาย​ความ​ว่า​ ​อะไรที่​ไม่​ถูกห้าม​ ​คุณก็ทำ​ไป​ ​คุณทำ​ได้​ ​ใน​ขณะที่ธรรม​ ​ใน​ความ​หมายของแนวทางปฏิบัติ​ ​กลับ​ไม่​ได้​ถูกสอน​ ​ไม่​ได้​บ่มเพาะ​ให้​กับ​สังคม​

ปัญหาของสังคมไทยอย่างหนึ่ง ที่ผมกระอักกระอ่วนมากที่สุด​ ​ก็คือว่า​เมื่อคุณพบปัญหา​ใด​ปัญหาหนึ่งก็ออกกฎข้อบังคับ​ ​สิ่งที่ตามมาคือ​ ​คนก็หาช่องว่าง​จาก​กฎข้อบังคับ​

ผมเชื่อว่าสังคมที่ดี​ ​หรือ​สังคมประชาธิปไตย​นั้น​ Rule of Law ​หรือ​ หลักนิติรัฐ มี​ความ​สำ​คัญ​ ​แต่​ Rule of law ​มันสร้างแนวทาง​ใน​การปฏิบัติ​หรือ​แนวทาง​ใน​การดำ​เนินชีวิต​ใน​สังคม​ ให้​มี​ความ​สงบสุขอย่างไรต่างหาก​

เมื่อสังคมไทย​ Abuse rule of law ​มอง​ Law ​ใน​แง่ของการบังคับ​ใช้​ ​ข้อห้าม​ ​ตัวอย่างที่​เห็นชัดอย่างหนึ่งก็คือ กรณีการแต่งกายชุดนักศึกษา​ ​ถ้า​ว่านักศึกษา​แต่งชุดผิดระ​เบียบไหม​ ​เขา​ก็​ไม่​ผิด​ ​แต่​ใน​การแต่งกายชุดนักศึกษา​ ​เขา​อาจ​จะ​มีช่องว่างที่​เขา​จะ​แต่งกาย​ใน​อีกลักษณะหนึ่งที่คุณ​ไม่​ต้องการ แต่คุณทำ​อะ​ไร​ได้​

ปัญหาคือคุณทำ​อะ​ไร​ไม่​ได้​ เพราะ​ว่าเขาถูกกฎทุกอยาง​ ​แต่ช่องว่าง​นั้น​น่ะ​ ​เพราะ​คุณ​ให้​ความ​สำ​คัญ​กับ​การบังคับ​ใช้​ มากกว่าการสร้างแนวทางปฏิบัติ​

Rule of law ​จะ​มีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อหลักนิติรัฐ​ได้​สร้างแนวทาง​ใน​การปฏิบัติร่วม ​กัน ​มากกว่า​จะ​ถูกหยิบยกขึ้นมา​เป็น​ข้อห้าม​หรือ​ข้อบังคับ​ ​ผมคิดว่านี่คือปัญหาอีก​ส่วน​หนึ่งที​เกิดขึ้น​ในครรลองประชาธิปไตย​

ปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือ ประ​เด็นเรื่องรัฐธรรมนูญ​ซึ่ง​เป็น​กฎหมายพื้นฐาน กลับ​ไม่​มี​ความ​สำ​คัญ​ ​ถูกฉีก​ได้​ตลอดเวลา​ ​กฎหมายรัฐธรรมนูญ​ไม่​ได้​อยู่​ที่ว่าคุณมีอะ​ไรที่คุณเขียน​ไว้​ใน​ แง่บทบัญญัติ​เท่า​นั้น​ ​แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ ครรลอง​ หรือ ​กติการ่วม​กัน ​ซึ่ง​เป็น​กติกาที่ทุกคน​ใน​สังคมยอมรับ​เป็น​หลัก​

เท่า​ที่ผม​เข้า​ใจ ประ​เทศจำ​นวนมากมีรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติน้อยกว่าสังคมไทย​และ​มีอายุการ ​ใช้​งานที่ยืนนานมากกว่าสังคมไทย​ ​สิ่งเหล่า​นั้น​ที่​เขา​ทำ​ได้​ ​ไม่​ใช่​ว่ากฎหมาย​เขา​ดีกว่า​เรา​ ​แต่กฎหมาย​ได้​กลาย​เป็น​แนวทางปฏิบัติของคน​ใน​สังคม​ ​ผมอยากเห็นสังคมไทย​ใช้​กฎหมายรัฐธรรมนูญ​ หรือ​เรียนรู้รัฐธรรมนูญ​ใน​ฐานะ​แนวทางปฏิบัติร่วม​กัน​ มากกว่าที่คุณเอามาตรวจสอบว่า​ ​คนนี้ทำ​ผิด​หรือ​เปล่า​ ​มันกลาย​เป็น​ข้อบังคับ​ และ​ใน​ท้ายที่สุด​แล้ว​มันเหมือน​กับ​เสือกระดาษ​ ​เหมือนเขียนเสือ​ให้​วัวกลัว​ ​และ​ท้ายที่สุด​แล้ว​ก็ถูกละ​เมิด​อยู่​ตลอดเวลา​

มีคำพูดเก่าแก่ ประมาณว่า “เพื่อนบ้านที่ดี ดีกว่า รั้ว” ผมคิดว่ามันคล้าย ๆ กัน

tags:

,

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.