DIY against the state


จาก ประชาไท:


เมื่อวันที่ 26 – 30 กรกฏาคมที่ผ่านมา กลุ่มอนาธิปัตย์ (anarchists) และนักเคลื่อนไหวทางสังคมกลุ่มต่าง ๆ ร่วมกันจัดกิจกรรม ‘งานสังสรรค์ระดับจักรวาลของคนติดดิน’ (an intergalactic festival of squatters*) ที่เมือง Freiburg ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี
(*squatters : กลุ่มคนที่ชอบบุกเข้าไปยึดพื้นที่รกร้างว่างเปล่าของรัฐ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในแบบฉบับของพวกเขาเอง ซึ่งโดยส่วนมากในประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็นนักอนาธิปัตย์ที่ท้าทายอำนาจรัฐทุนนิยม , ส่วนในประเทศด้อยพัฒนามักจะเป็นกลุ่มเกษตรกรไร้ที่ทำกิน)

‘DIY against the state festival’ เป็นกิจกรรมที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่หลากหลาย ได้มาพบปะร่วมวงแลกเปลี่ยนและลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ในแนวทางอนาธิปไตย (anarchism) อาทิเช่น การใช้ชีวิตโดยปฏิเสธอำนาจรัฐ (autonomous living), การต่อต้านระบบทุนนิยม, การต่อต่าน – ขัดขืนอำนาจนิยม, การละเล่น – สังสรรค์ทางศิลปะและดนตรีต่างๆ, รวมถึงการฝึกหัดใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองบนสังคมทุนนิยม

… (อ่านต่อ)


ปีหน้าเขาก็จะจัดกันอีก เวลาเดิม ตั้งตารอได้ 😛

ชื่อเมือง Freiburg, ภาษาเยอรมัน Frei แปลว่า อิสระ (ส่วน burg แปลว่า ปราสาท) ไม่รู้ว่าตั้งใจหรือบังเอิญ ที่ไปจัดที่เมืองนี้


Do it yourself : ใช้ชีวิตด้วยตัวเราเอง [จากบทความเดียวกัน (ด้านล่าง)]

วัฒนธรรมแบบ DIY (Do it yourself) ถือว่าเป็น ‘กิจกรรมทางการเมืองของคนรากหญ้า’ (grassroots political activism) โดยรูปธรรมในการเคลื่อนไหวแบบจริง ๆ จัง ๆ เริ่มต้นที่สหราชอาณาจักรในยุค 90’s ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงแบบ Direct action, การปิดถนนในเมืองด้วยวิธีแปลก ๆ, การจัดงานเทศกาลของคนรากหญ้าเพื่อประชดประชันชีวิตในระบบทุนนิยม ซึ่งมีพัฒนาการมาจากยุคแสวงหาหรือบุปผาชนในอดีต (ในยุค 60’s)

แต่ในปี ค.ศ. 1994 ฝ่ายปกครอง-นายทุน ของสหราชอาณาจักร พยายามที่จะยับยั้งพัฒนาการทางการเมืองของกลุ่ม DIY โดยออกกฎหมาย ‘Criminal Justice and Public Order Act 1994’ ซึ่งเป็นกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนบนท้องถนน

วัฒนธรรมแบบ DIY มีแนวทางเคลื่อนไหวที่หลากหลาย เช่น พยายามปฏิเสธการใช้ชีวิตโดยพึ่งพิงกับระบบผลิตแบบ mass ของทุนนิยม, ต่อต้านการค้าแบบผูกขาด, ประยุกต์และใช้เทคโนโลยีทางเลือกเพื่อตอบสนองในชุมชนด้วยราคาที่ถูกที่สุดหรือบางครั้งให้ฟรี (จุดเริ่มของการผลิต ‘ไบโอดีเซล’ ก็เริ่มมาจากการเคลื่อนไหวของ DIY นี้เช่นกัน), การเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของคนที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง, การไหวเพื่อสิทธิสัตว์, กลุ่มอนุรักษ์นิเวศวิทยา (Green) เป็นต้น

แต่นักวิจารณ์บางส่วนกลับวิจารณ์การเคลื่อนไหวของ DIY ว่ามีการพัฒนามาจากแนวทางเสรีนิยมสุดโต่งเกินไป (laissez-faire or libertarianism) ซึ่งข้อกล่าวหานี้ก็มาจากฝ่ายซ้ายยุคโบราณ ที่ขาดวิธีการและแนวทางเสนอให้การเคลื่อนไหวภาคประชาชน ‘มีสีสันที่หลากหลาย’


tags:
|
|
|
|
|


Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.