เห็นพูดกันว่าออกนอกระบบแล้ว นักเรียนจะไม่มีโอกาสเรียนเพราะค่าเทอมแพงขึ้น ฟังดูดีแต่จากที่ตาเห็นกลับปรากฏว่า การที่นักเรียนได้รับการอุดหนุนจากเงินภาษีทำให้จ่ายค่าเทอมน้อยกว่าที่ควรจ่าย คือประมาณไม่ถึงร้อยบาทถึงร้อยกว่าบาทต่อหน่วยกิต ทั้ง ๆ ที่ค่าใช้จ่ายจริงควรจะเกินพันบาทต่อหน่วยกิตนั้น
ไม่ได้ช่วยสร้างคนที่จะออกมาช่วยสร้างชาติสักเท่าใดเลย
…
อย่ากระนั้นเลย เลิกอุดหนุนการศึกษาโดยการปิดบังค่าใช้จ่ายที่แท้จริงเสียเถอะ ปล่อยให้คนเหล่านี้ดิ้นรนขึ้นสู่ที่สูงเอาเอง เพราะจะอุดหนุนหรือไม่อุดหนุน เดี๋ยวพวกนี้มันก็กลับมาสูบเลือดพวกเราอยู่ดี ไม่เห็นจะต่างกัน
อ่านเต็ม ๆ ที่ kt’s thoughts
4 responses to “อภิสิทธิ์ของนักศึกษา”
แต่ในแง่ที่ผมมองนี่ เพื่อนผมหลายคนมีปัญญาเรียน แต่ไม่มีปัญญาหาเงินมาเรียนนะครับ แค่นี้มันก็จะแย่แล้ว เรียนไปทำงานไป ให้นักศึกษาจ่ายเต็มๆ ก็ไม่ต้องเรียนมันน่ะสิครับ
ให้เป็นลักษณะ ทุนการศึกษา (ทั้งประเภทเรียนดี และประเภทขาดแคลน) หรือว่า เงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ แทน ?คนที่ไม่มีเงินน่ะมีจริงแต่ลักษณะปัจจุบันของมหาลัยรัฐในระบบคือ อุดหนุนทุก ๆ คนรึเปล่า ? ไม่ว่าจะ ไม่มีเงิน หรือ มีเงินมีรุ่นน้องกู้เงินรัฐเรียน จบปุ๊บได้งาน ก็ผ่อนส่ง ก็เห็นมันโอเคนะ ที่ส่งกะธ.กรุงไทยอ่ะ
แต่ถ้าจะยังอุดหนุนกันต่อไปเหมือนปัจจุบันก็น่าจะประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักกันหน่อยว่าที่เรียนกันอยู่ทุกวันนี้น่ะ ไม่ใช่พ่อใช่แม่ตัวเองจ่ายอย่างเดียวยังมีพ่อมีแม่คนอื่นมาช่วยจ่ายด้วยไม่งั้นก็จะยังได้ยินกันอยู่เรื่อยไปทำนองว่า "เรียนจบแล้วขอทำงานเพื่อตัวเองก่อน แล้วค่อยทำเพื่อคนอื่น"(ทั้ง ๆ ที่ "คนอื่น" น่ะ มีส่วนทำให้เราเรียนจบมาได้ — ทำสองอย่างพร้อม ๆ กันไม่ได้ ?)ผมก็คิดของผมไปเรื่อยเปื่อยนะครับอาจจะไม่เข้าใจความรู้สึกของคนที่เรียนมหาลัยในระบบก็ได้(แต่ก็เข้าใจได้ยากอยู่ดี ว่าถ้าที่บ้านมีเงินซื้อรถ (แพง ๆ ที่เกินจำเป็น ไม่นับกรณีที่ เออ มันจำเป็นต้องขับ)ให้ขับมาเรียนได้ มีเงินซื้อ accessories, gadgets รอบตัวได้ … ทำไมรัฐยังต้องไปอุดหนุนค่าการศึกษาด้วย ? (ถ้าคน ๆ นั้นไม่ได้เป็นระดับอัจฉริยะมาก ๆ ที่รัฐต้องการส่งเสริม กำลังขาดแคลนคนด้านนี้))อะไรที่จ่ายน้อยกว่าความจริงก็จะเห็นคุณค่าน้อยกว่าความจริง… ผมคิดว่ามันเป็นธรรมชาติ
สมมติตัวอย่างเป็นตุ๊กตาขึ้นมา(จุดประสงค์คือให้ลองคิดตามง่าย ๆ ตัวเลขทุกอย่างเป็นตัวเลขสมมติหมด)ถ้าค่าเล่าเรียนตามจริง หน่วยกิตละ 500 บาท แต่รัฐอุดหนุนครึ่งนึง เลยเก็บแค่ 250 บาทตลอดหลักสูตรเรียน 100 หน่วยละกัน และไม่ต้องจ่ายค่าบำรุงการศึกษาอื่น ๆ เพิ่ม มีแค่ค่าหน่วยกิตก็เท่ากับ ตลอดหลักสูตรตามจริง 50,000 บาท แต่รัฐอุดหนุนเลยเหลือ 25,000 บาทเอาให้นศ.ในสาขาวิชาก.ไก่ มี 100 คนเป็นนศ.ที่ไม่ค่อยมีกำลังทรัพย์ (ถ้าเกิน 25,000 ไป ก็ไม่สามารถเรียนได้) ซะ 90% เลยอีก 10% มาจากครอบครัวที่พอมีฐานะขึ้นไป (ที่ไม่ว่าจะ 25,000 หรือ 50,000 ก็รับไหว)ถ้ารัฐอุดหนุนทั้ง 100 คนก็คือ รัฐออกครึ่งนึง = 25,000 x 100 = 2,500,000 สองล้านห้าและ นศ.ออกครึ่งนึง, 100 คน = 25,000 x 100 = อีกสองล้านห้าคนได้เรียนในระบบนี้ ก็คือ 100 คนเอาใหม่ถ้ารัฐอุดหนุนเฉพาะ 90% ที่ไม่ค่อยมีกำลังทรัพย์เท่านั้นเท่ากับ รัฐลดรายจ่ายลงไปได้ 25,000 x 10 = 250,000เอา สองแสนห้านี้ ไปทำอะไรได้มั่ง ?- อุดหนุนนศ.แบบเดิม (ออกให้ครึ่งนึง) ได้ 10 คน (จากกลุ่มประเภทเดียวกับ 90% ข้างบน) .. นศ.ที่ได้เรียนในระบบ 110 คน- อุดหนุนให้ทุนเต็มไปเลย ได้ 5 คน (นศ.จากกลุ่มที่ ค่าเรียน 25,000 ก็ยังแพงไป ไม่ไหว ก็จะได้โอกาสเรียน = ได้ขยายกลุ่มออกไปด้วย) .. นศ.ที่ได้เรียนในระบบ 105 คนมันมากกว่า 100 คนนะ(แบบนี้เรียกว่า "ขยายโอกาสทางการศึกษา" ได้รึเปล่า ?)สรุปว่า การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ รัฐควรให้การอุดหนุนอยู่แล้ว ถูกต้องแต่น่าจะเลือกอุดหนุนให้เฉพาะคนที่จำเป็น