Vote “No Vote”


สั้นๆ
ถ้าไม่มีใครดี ก็อย่าไปเลือกมัน
ไปใช้สิทธิ กาช่อง “ไม่ลงคะแนน” ซะ

ยาวๆ
ไปอ่านที่ อ.นิธิ เขียน – เลือกที่จะไม่เลือก

“เลือกที่จะไม่เลือก” ที่วิกิพีเดีย


10 responses to “Vote “No Vote””

  1. สมมติว่าไม่มีใครได้เลยแล้วจะทำไง

  2. ไร้สาระ ฆ่าคนที่ที่คิดว่าเป็นโจรไปซักสิบคน โจรจะสำนึกผิดหรือไง แม้คน ๆ เดียวกันยังมีทั้งส่วนดีส่วนเลว เราก็ควรจะเลือกเอาส่วนดีนั้นออกมาใช้ เลิกอ่านเถอะบทความของนิธิน่ะ งี่เง่า ไร้สาระ

  3. อ้าวไหนว่าจะเลือก ชูวิทย์ … (นึกว่ามีเพื่อนร่วมอุดมการณ์)

  4. แล้วทำไมต้องโดนบังคับเลือกด้วยล่ะ?มันควรจะมีกฏหมายที่ว่า ถ้าผู้สมัครที่ได้คะแนนที่ 1 กับที่ 2 (3,4,.. )ได้คะแนนเสียงขาดกันไม่เกินกี่ % ให้เอาคนที่ได้คะแนนสูงสุด n คนมาเลือกกันใหม่(n จะกำหนดตายตัวก็ได้ หรือจะแปรตามจำนวนส่วนต่างของเสียงก็ได้)– แบบนี้ก็น่าจะลดเรื่อง "ดึงคะแนน" ได้ด้วยสมมติ a b cและสมมติ a b ดีพอๆ กัน และมีนโยบายคล้ายๆ กันส่วน c ดีน้อยกว่าหน่อย แต่นโยบายแตกต่างจาก a กะ bแบบนี้กลุ่มคนที่ชอบทั้ง a กะ b ก็ไม่รู้จะเอาไงดี ก็ต้องเลือกคนใดคนหนึ่ง — เสียงแตกมันก็เป็นไปได้ที่ c จะได้รับเลือกไปและถ้าเกิดว่าคนที่ได้คะแนนสูงสุด ยังได้คะแนนไม่เกินครึ่งนึงของผู้มีสิทธิลงคะแนน(หรือจำนวนผู้มาลงคะแนน — หรือจำนวนคะแนนสุทธิทั้งหมด, หักบัตรเสียแล้ว)คนที่ได้คะแนนสูงสุดก็ไม่น่าจะเรียกได้ว่าเป็น "ผู้แทนราษฎร" ได้นะเลือกกันใหม่ไม่ได้เหรอครับ?ไม่อยากโดน บังคับเลือก นักเลือกตั้ง น่ะอยากเลือก ตัวแทน

  5. ไม่เลือกใคร ก็ไม่เห็นเป็นไร ถ้าไม่ถูกใจ หรือถ้าบอกว่าคะแนนไม่ถึงกี่ % ต้องเลือกใหม่ มันก็คล้ายๆ ในการลงคะแนนอะไรหลายๆ อย่างเหมือนกรรมการบริษัทแต่ไอ้เหตุผลในบทความนั้นมันงี่เง่านะผมว่า ไม่เลือก เพื่อเป็นการสั่งสอนนักการเมืองเหรอ? เพื่อแสดงใ้ห้รู้ว่าเราไม่พอใจตัวเลือกเหรอ? คิดว่านักการเมืองสนเหรอ???แล้วถ้าสนแล้ว? (ไอ้ที่ว่าจะสนแล้วจะได้ไปทำนโยบายใหม่ วางตัวคนใหม่ เพื่อให้ถูกใจมากขึ้นนี่ ตลกมาก ตลกจริงๆ)ผมว่าบทความมันเอาเรื่องนู้นเรื่องนี้มาตีกันมั่วมาก เหตุผลก็ไม่ได้ต่อเนื่องอะไรกันซักนิด(ขอโทษที่ดุเดือดไปหน่อย ได้เรื่องนี้จาก forward mail หลายทีแล้ว อ่านแล้วหงุดหงิดว่ามันคิดได้ไงวะ)ichris

  6. เหตุผลหลักๆ ที่ผมโปรโมตเวบนั้นก็เพราะอยากจะบอกให้รู้ กันลืม ว่าเรามีสิทธิที่จะทำอย่างนั้นนะส่วนใครจะใช้เหตุผลอะไรอย่างไรก็แล้วจะพิจารณาตัวผมเองไม่คิดว่านักการเมืองที่ลงเลือกจะสนใจอะไรแต่ถ้าผลมันออกมาว่าไม่มีใครได้รับเลือกจริงๆมันจะเป็นการส่งสัญญานให้คนอื่นๆ ที่เคยอยากลงรับสมัครแต่ไม่กล้าลงเพราะคิดไปว่า กูไม่ได้สังกัดพรรคใหญ่ลงไปยังไงก็คงไม่ได้รับเลือก อาจจะได้มีความกล้าขึ้นมาบ้างนี่ก็เหตุผลหนึ่งอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ถ้าผลมันออกมางั้นจริงๆ (ไม่มีใครได้รับเลือก)มันก็จะเป็นข่าว แล้วประชาชนทั่วไปก็จะได้รู้ว่า คะแนนเสียงน่ะเป็นของเค้าจริงๆอำนาจน่ะอยู่ที่มือเค้า ต่อไปเวลาจะเลือก หรือมีเหตุการณ์อะไรเค้าก็จะได้ตระหนักมากขึ้น ว่า 1 เสียงของเค้าน่ะ มันมีความหมายแสดงมันออกมาซะทุกวันนี้ผมว่ามันไม่เหมือน เลือกตั้งมันเหมือน พิธีกรรม อะไรซักอย่างมากกว่าทุกๆ 4 ปี ก็จัดให้คนไปหย่อนบัตรทีนึงสร้างความชอบธรรมให้นักการเมือง เอาไปอ้างได้ว่า 'ประชาชน'เลือกฉันมาแล้วก็เละเทะกันไป 4 ปีพอถึงเวลา ก็จัดพิธีกรรมสร้างความชอบธรรมอีกรอบตกลงประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมทางการเมืองได้ 4 ปีครั้ง?ผ่านการ กากบาท-หย่อนบัตร แค่นั้น ..?แค่มีการเลือกตั้งแล้ว ก็บอกว่าเป็นประชาธิปไตยได้ ผมไม่เชื่อหรอกการมีส่วนร่วมทางการเมือง ต้องมีได้โดยตลอดเวลาทั้งทางตรง และทางอ้อม

  7. อะ ไม่มีอะไร อยากอวดว่าคุณอภิรักษ์เข้ามาที่ร้านผมวันนี้ และผมขอจับมือด้วย (แบบกะว่าคงมีโอกาสครั้งนี้ครั้งเดียวแหละ อิอิ)ได้จับมือคนดัง ได้จับมือคนดัง … 😀

  8. ผมมองอย่างนี้น่ะ การมีส่วนร่วมทางการเมืองน่ะไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่การตัดสินใจอะไรก็แล้วแต่ที่มีผลกระทบต่อเราพวกพ้องเรา (ใช้คำนี้ไปเถอะ) เราก็ต้องเดือดร้อนเป็นธรรมดาก็ต้องรู้จักหน้าที่ก่อนเป็นอันดับแรก คุณมีหน้าที่อะไรก็ทำหน้าที่ให้ดี รัฐธรรมนูญก็กำหนดสิทธิและหน้าที่ของคุณไว้ชัด ก็ทำได้เท่านั้น อย่างจ่ายเงินเรียนหนังสือ ยังไปเรียนได้แค่สองสามวันงี้ แล้วเราก็บอกว่าตัวเราเองคิดดี ทำดีกว่านักการเมือง ถ้าจับเราสลับกับนักการเมืองเดี๋ยวนั้นเลย ก็จะได้บ้านเมืองที่ดีกว่างั้นเหรอ นี่คือคำถามเรียนหนังสือจบมา ยังวัดอะไรไม่ได้ ต้องแสดงฝีมือก่อน 1 ปี 2 ปี หรือ 10 ปี ถึงจะพอหล่ะ นี่มองจากตัวเราน่ะ ก็หัดมองคนอื่นแบบนั้นด้วย แล้วถ้าเรายังโทษว่าก็บริษัทมันห่วย นโยบายบริษัทมันไม่ดี มหาวิทยาลัยเมืองไทยเครื่องมือมันไม่มี ไม่ดี หัวหน้าไม่เก่งถ้าข้ออ้างเหล่านี้ยังมีได้ไม่หมดไม่สิ้น ก็คิดเอาแล้วกันว่าในเมื่อเราอ้างได้ ทำไมคนอื่นจะอ้างไม่ได้ มันก็เงินทั้งนั้นแหละว้า

  9. ทำดี กับ รู้ว่าอะไรดีมันไม่เหมือนกันนี่พี่ผมรู้ตัวผมว่าผมขี้เกียจ(มาก)แล้วผมก็รู้ว่าความขี้เกียจคืออะไรถ้ามีคนมาลงสมัคร แล้วผมรู้ว่าคนนี้ขี้เกียจ คนนี้ไม่ขี้เกียจคนนี้ดี คนนี้ไม่ดีผมก็รู้ได้ว่าควรจะเลือกคนไหน(ไม่จำเป็นว่าผมจะต้องดี และไม่ขี้เกียจ ถึงจะมีสิทธิเลือกคนๆ นั้นได้)ผมเล่นเครื่องดนตรีอะไรไม่ได้เลยแต่ก็ยังฟังเพลงได้รู้เรื่องนี่

  10. แล้วเราจะไปรู้ได้อย่างไรว่าคนไหนดี ไม่ดี จากสื่อ ? เวลาสื่อไม่ถูกใจเรา ก็เห็นด่าสื่อกันป่าว ๆ พอสื่อถูกใจเรา เราก็เชื่อหมด หลายเรื่องผมก็ด่านักการเมืองน่ะ แต่ด่าที่โต๊ะกินข้าวกับภรรยา ส่วนใหญ่พอผสมโรงกันคนอื่นผมจะนิ่งเงียบก็ถ้าเราไม่พัฒนาตัวเองเป็นคนที่ดีของสังคม ผู้นำห่อทองมาก็ไม่มีประโยชน์อะไร

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.